วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

งานครั้งที่ 5

1.จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง IEEE802.11b และ IEEE802.a
ตอบ ความแตกต่างของ IEEE 802.11bใช้กลไกเข้าถึงตัวกลางแบบCSMA/CA อาศัยกลไกส่งแบบ DSSS รวมกับเทคนิค cuk ทำให้สามารถรับ - ส่งข้อมูลได้เร็วถึง 5.5 Mbpsและ 11 Mbpsความแตกต่าง ของ IEEE802.a ใช้กลไกการส่งแบบ OFDM ซึ่งรองรับความเร็วได้ถีง 54 Mbps

*************************************************************************

2. ย่านความถี่ ISM band มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. ย่านความถี่ที่ 900 MHz มีแบบความกว้างตั้งแต่ 2.400 ถึง 928 MHz2. ย่านความถี่ที่ 2.4 GHz มีแถบความกว้างตั้งแต่ 2.400 ถึง 2.4835 MHz3. ย่านความถี่ที่ 5 GHz มีแถบความกว้างตั้งแต่ 5.725 ถึง 5.850 MHz

***************************************************************************

3. จงอธิบายพฤติกรรมของคลื่น Diffraction , Interference
-Diffraction อธิบายได้ด้วยหลักกการของฮอยเกนส์ คือ หน้าคลื่นที่ผ่านตัวกันมานั้นจะทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิดคลื่นใหม่ที่มีหน้าที่คลื่นเป็นวงกลม ทำให้เกิดคลื่นวงกลมหลังตัวกั้น-Interference อธิบายเกิดจากคลื่นสองขบวนที่เหมือนกันทุกประการเคลื่อนที่มาพบกันแล้วเกิดการซ้อนทับกันถ้าเป็นคลื่นแสงจะเห็นแถบมืดและแถบสว่างสลับกัน ส่วนคลื่นเสียงจะได้ยินเสียงดังเสียงค่อยสลับกัน

**************************************************************************************
4. ระบุ specify ของอุปกรณ์เครือข่าย

***********************************************************************************8888

5. จงบอกประโยชน์ของเครือข่ายไร้สาย
ตอบ 1. ผู้ใช้สามารถใช้งานไฟล์ อุปกรณ์ต่างๆโดยไม่ต้องต่อสายและสามารถใช้อุปกรณ์มือถือซึ่งยังคงความเร็วสูงและ Real time
2. เวลาที่ใช้ในการติดตั้งลดลงเพราะการติดตั้งไม่ยุ่งยากกับสายต่างๆ
3. การใช้งานสะดวกขึ้นในการใช้ WLAN
4. จาก Topologies ของ WLAN เป็นการง่ายที่จะใช้และกำหนดขอบเขต
5. ทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพขึ้น
6. การติดต่อสื่อสารอย่างทันท่วงทีกับทีมงาน
7. พนักงานเกิดความพอใจในการทำงานมากขึ้น
8. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบเครือข่ายในระยะยาว
9. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบเพราะอุปกรณ์ Wireless ไม่ต้องใช้สาย

*********************************************************************************

6. จงอธิบายการทำงานของ ALOHA ,CSMA/CA
ตอบ 1. การทำงานของ CSMA/CA คือ เมื่อสถานีหนึ่งต้องการเข้าใช้ช่องสัญญาณสถานีดังกล่าวจะต้องตรวจสอบช่องสัญญาณก่อนว่ามีสถานีอื่นทำการรับส่งสัญญาณข่อมูลอยู่หรือไม่และรอจนกว่าช่องสัญญาณว่าง ซึ่งแต่ละสถานีได้กำหนดระยะเวลาในการรอแล้ว ด้วยการสุ่มค่าหลังจากเสร็จการใช้ช่องสัญญาณครั้งก่อน

*********************************************************************************

7.จงอธิบายหลักการทำงานของ FHSS, DSSS, OFDM
1. FHSS หลักการทำงานสัญญาณจะกระโดดจากความถี่หนึ่งไปยังความถี่หนึ่งในอัตราที่ได้กำหนดไว้ซึ่งจะรู้กันเฉพาะตัวรับกับตัวส่งเท่านั้น2. DSSS หลักการทำงานจะมีการส่ง chipping code ไปกับสัญญาณแต่ละครั้งด้วยซึ่งจะมีเฉพาะตัวรับกับตัวส่งเท่านั้นที่จะรู้ลำดับของ chip3. OFDM หลักการทำงานถูกสร้างมาเพื่อใช้งานสำหรับระบบสื่อสารไร้สายแบบเคลื่อนที่แบนด์กว้างมีอัตราการส่งข้อมูลสูงๆ เช่น ระบบ LAN

*******************************************************************************

8. การลดทอนของสัญญาณคืออะไรคือ การออกแบบเครือข่ายไร้สายแต่ละประเภทจะต้องเลือกใช้สมการให้เหมาะสมกับระบบที่จะทำการออกแบบทั้งนี้จึงจะทำให้ได้ค่าใกล้เคียงกับสภาพจริงและทำให้ระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

*******************************************************************************

9. กำลังส่งและกำลังรับหมายความว่าอย่างไร
กำลังส่ง หมายความว่า Path Loss เป็นการลดทอนสัญญาณที่กำลังส่งสัญญาณจะลดลงอย่างคงที่ตามระยะทางในการส่งสัญญาณกำลังรับ หมายความว่า การที่เครื่องรับได้รับสัญญาณจาก 2 ทิศทางหรือมากกว่านั้นแล้วทำให้มีการสูญเสียเนื่องจากเกิดการรบกวนกันของสัญญาณที่มาจากทิศทางนั้น

**************************************************************************************

10. Cell sizing คืออะไร
ตอบ การแบ่งสัญญาณเครือข่ายไร้สายให้ข้างบ้านใช้งานด้วยการติดตั้งระบบเครือข่ายควรดูรัศมีที่ต้องการใช้งานและเลือกใช้รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณให้เหมาะสมกับรัศมีนั้น

************************************************************************************

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อสอบ 30 ข้อ

ข้อสอบ 30 ข้อ
1.ระบบเครือข่ายแบบไร้สายคือ
ก.Wireless LAN
ข.ISM
ค.helnrich Hertz
ง.OFDM
2..ใครเป็นคนสร้างทฤษฎีแมม่เหล็กไฟฟ้า
ก.เฮนธิคเฮิรตซ์
ข.เจมส์เดิร์กแมกเวลล์
ค.มาโคนี่
ง.มอส เดิกร์
3.จงบอกคำย่อของ Indutrial Sciences Medicine
ก.IMS
ข.SME
ค.MSI
ง.ISM
4. Direct IR และ Diffuse IR เป็นกลไกการส่งแบบใด
ก.คลื่นอินฟาเรต
ข.คลื่นวิทยุ
ค.คลื่นไม่โครเวฟ
ง.ถูกทุกข้อ
5.โครงสร้างมาตรฐาน IEEE.802.11 ประกอบด้วย
ก. OFDM
ข.DSSS
ค.MACและPHY
ง.DSSSและFHSS
6.ใน MAC layer จะมีโปรโตคอลชื่อว่า
ก.CA/CSMA
ข.CSAM/CA
ค.AP
ง.CSMA/CA
7."Hot spot' ทำหน้าที่อะไร
ก.กระจายสัญญาณคลื่นวิทยุ
ข.เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่าย
ค.ตรวจสอบการทำงาน
ง.ถุกทุกข้อ
8.รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายมีกี่ mode
ก.2 mode
ข.3 mode
ค.4 mode
ง.5 mode
9.เทคโนโลยีที่ใช้ใน UALN จากตอนแรกที่ใช้อินฟาเรตในการรับส่งแต่มีข้อจำกัดในระยะทางส่งได้ไม่ไกลตอนมาได้ใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งซึ่งมีเทคนิคที่ใช้2ชนิดคืออะไรบ้าง
ก.CSMA/CA และ DSSS
ข.FHSSและSSID
ค.FHSSและDSSS
ง.OFDM และ FHSS
10.การ์ดที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ทั้งครื่งคอมพิวเตอร์แบบ PC และแบบโน๊ตบุ๊ค คือ การ์ดใดบ้าง
ก.PCICard
ข.PCMCISCard
ค.DBUS
ง.ถูกทุกข้อ
11.อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายใด ที่ใช้เพิ่มระยะทางละประสิทธิภาพการทำงานของ ACCSS Point
ก.Wireless Signal Borten
ข.Wireless Bradband Router
ค.WirelessBridge
ง.Antenna
12.อุปกรณ์ใดที่ทำหน้าที่ในการต่อเข้าระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์หรือเคเบิ้ลทีวี
ก.Wireless Signal Borten
ข.Wireless Bradband Router
ค.WirelessBridge
ง.Antenna
13.อุปกรณ์ใดที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต LAN ตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไปเข้าด้วยกัน
ก.Wireless Signal Borten
ข.Wireless Bradband Router
ค.WirelessBridge
ง.Antenna
14.หน้าที่หลักของเสาอากาศคืออะไร
ก.แปลงสัณญาณวิทยุเป้นแม่เหล็กไฟฟ้า
ข.แปลงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นวิทยุ
ค.ถูกทั้ง ก และ ข
ง.ไม่มีข้อถุก
15.เสาอากาศแบบรอบตัวเรียกว่าอะไร
ก.เสาอากาศแบบยากิ
ข.เสาอากาศแบบโคโพส
ค.เสาอากกาศแบบกลิต
ง.ไม่มีข้อใดถูก
16.เสาอากาศแบบทิสทาง อัตราการขยายจะมีค่าเท่าใด
ก.2-12 dBi
ข.6-21dbi
ค.8-32dBi
ง.9-36 dBi
17.ข้อใดคือประโยชน์ของเครือข่ายไร้สาย
ก.เวลาที่ใช้ในการติดตั้งลดลง
ข.ผู้ใช้สมารถใช้งานไฟล์ อุปกรณ์โดยไม่ต้องต่อสาย
ค.การใช้งานจะสะดวกขึ้นในการใช้WRAN
ง.ถูกทุกข้อ
18.สมบัติของคลื่นมี 2 อย่างมีอะไรบ้าง
ก.การสะท้อน การหักเห การเลี้ยวเบน การทะลุผ่านสิ่งกีดขวาง
.การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด การเลี้ยวเบน
ค.การสะท้อน การหักเห การส่งข้อมูล การเลี้ยวเบน
ง.การส่งข้อมูล การทะลุผ่านสิ่งกีดขวาง การหักเห การเลี้ยวเบน
19.การกระจายของคลื่นวิทยุมีกี่ขั้นตอน
ก. 6 ขั้นตอน
ข. 5 ขั้นตอน
ค.4ขั้นตอน
ง.3ขั้นตอน
20.ข้อใดคือการแทรกสอด
ก.Refrecction
ข.Diffrection
ค.Interferce
ง.Pencetration
21.ข้อใดคือการลดทอนของคลื่น
ก.Refrecction
ข.Diffrection
ค.Interferce
ง.Pencetration
22.หน่วยวัดอัตราการลดทอนหรออัตราการขยายของกำลังส่งคืออะไร
ก.dB (Decibel)
ข.dBM(Decibel Milk)
ค.dBi(Decibel Isofropic)
ง.dBd(Decibel Decibel)
23.หน่วยการจัดการเพิ่มกำลังการขยาย อัตราขยายที่เทียบจากสาย Decibel
ก.dB (Decibel)
ข.dBM(Decibel Milk)
ค.dBi(Decibel Isofropic)
ง.dBd(Decibel Decibel
24.จากสมการ EIRP = Powt-ct+c-c+ในสมการคืออะไร
ก.อัตราการขยายในแกน Gainof the antenna(dBi)
ข.ค่า loss ในสายเคเบิ้ล Signsl loss in cabla (dB)
ค.ค่า loss ในสายเคเบิ้ล Power outputn(dBm)
ง.กำลังส่ง EFFeetive Isotropic Radiated Power(dBm)
25.จากสมการที่24EIRP คืออะไร
ก.อัตราการขยายในแกน Gainof the antenna(dBi)
ข.ค่า loss ในสายเคเบิ้ล Signsl loss in cabla (dB)
ค.ค่า loss ในสายเคเบิ้ล Power outputn(dBm)
ง.กำลังส่ง EFFeetive Isotropic Radiated Power(dBm)
26.ถ้าเราใช้เครือข่ายไร้สายที่มีความถี่ 2.4 GHz จะมีอัตราขยายสูงสุดกี่ dBm
ก.25dBm
ข.26dBm
ค.27dBm
ง.28dBm
28.มาตรบาน IEEE ได้ใช้กลไกเข้าถึงตัวกลางแบบ CSMA/CA พัฒนากลไกการส่งแบบOFDM
ก. IEEE 802.11A
ข.IEEE 802.11b
ค.IEEE 802.11g
ง.IEEE 802.11i
29.rect IR และ Diffuse IR เป็นกลไกแบบใด
ก.คลื่นอินฟาเรต
ข.คลื่นวิทยุ
ค.คลื่นไมโครเวฟ
ง.ถูกทุกข้อ
30.รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายมีกี่ mode
ก. 2 mode
ข.3 mode
ค. 4mode
ง.5mode

เรียนวันจันทร์ ที่ 27 ตุลาคม 2551

1. มาตรฐาน IEEE802.15
สัญญาณมาตรฐาน IEEE 802.15 (IEEE 802.15 Working Group) สำหรับเครื่องข่ายไร้สายส่วนบุคคล หรือดับเบิลยูแพน (WPAN) ซึ่งมีการประชุมกันในสัปดาห์นี้ด้วยเช่นกัน เครือข่ายไร้สายส่วนบุคคลนี้ หมายถึงเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงสำหรับการสื่อสารระยะสั้น ตัวอย่างเช่น การซิงค์ข้อมูลระหว่างเครื่องพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี หรือการเชื่อมต่อทีวีกับเซ็ตท็อปบ็อกซ์ของเคเบิลทีวี เทคโนโลยีที่ได้รับเลือกจะได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “802.15.3a” ซึ่งคาดว่าจะทำรายได้มหาศาลระดับ 1.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท) ในปี 2007 ตามการรายงานของซีเน็ตโดยอ้างถึงประมาณการณ์ของบริษัทเอบีไอ (Allied Business Intelligence; ABI) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยตลาดเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีความชัดเจนในตัว “802.15.3a” แต่ที่ค่อนข้างแน่นอนแล้วก็คือ เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยกองทัพสหรัฐฯชื่อ “อัลตร้าไวด์แบนด์” หรือ “ยูดับเบิลยูบี” (Ultra Wideband; UWB) ซึ่ง 95% ของข้อเสนอที่ยื่นเข้ามาเลือกใช้เทคนิคนี้ ตามคำกล่าวของ เบน แมนนี (Ben Manny) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย บริษัทอินเทล ผู้ให้การสนับสนุนเทคโนโลยีอัลตร้าไวด์แบนด์กล่าวว่า มันถูกกว่าและกินพลังงานน้อยกว่าบลูทูธ ทั้งยังมีความเร็วสูงกว่าบลูทูธประมาณ 100 เท่า ซึ่งเหมาะสำหรับอุปกรณ์โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ด้วย บลูทูธ (Bluetooth) คือเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล และเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและพีดีเอชั้นนำทั่วโลก รวมถึงบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) และบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) แต่ผู้ไม่เห็นด้วยกับเทคโนโลยีนี้แย้งว่า เพราะอัลตร้าไวด์แบนด์เป็นช่องสัญญาณสื่อสารความถี่กว้าง ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้อาจไปกวนความถี่ในช่องสัญญาณอื่นที่อยู่ใกล้ๆและกำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ไว-ไฟ (Wi-Fi) “สนีคกี้เวฟ” “อัลตร้าไวด์แบนด์” หรือ “สนีคกี้เวฟ” เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นภายในกองทัพสหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สื่อสารระยะสั้นแบบไร้สายและขจัดปัญหาการถูกดักฟัง คลื่นวิทยุส่วนใหญ่จะเป็นคลื่นความถี่ชนิดแนร์โรว์แบนด์ (Narrow Band) ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือที่ใช้ช่องสัญญาณในช่วง 100MHz แต่อัลตร้าไวด์แบนด์จะสูงกว่านั้นหลายสิบหลายพันเท่า บางบริษัทยอมรับว่า อัลตร้าไวด์แบนด์มีช่องสัญญาณที่กว้างมากๆ นั่นเป็นธรรมชาติของมัน หลายรายแก้ไขโดยการซอยช่องความถี่อัลตร้าไวด์แบนด์ออกเป็นช่องสัญญาณเล็กๆซึ่งแต่ละช่องจะมีความถี่ประมาณ 1,000MHz ตัวอย่างเช่น บริษัทเอ็กซ์ตรีมสเปกตรัม (XtremeSpectrum) ที่ซอยช่องสัญญาณอัลตร้าไวด์แบนด์ออกเป็น 2 ช่องสัญญาณย่อย ซึ่งวิธีนี้ได้รับการสนับสนุนจากโมโตโรลา (Motorola) ด้วย ตามการเปิดเผยของตัวแทนจากบริษัทเอ็กซ์ตรีมสเปกตรัม ขณะที่บริษัทอื่น เช่น อินเทลซอยออกเป็น 14 ช่อง
2.มาตรฐานIEEE.802.11
มาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2540 โดย IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) และเป็นเทคโนโลยีสำหรับ WLAN ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด คือข้อกำหนด (Specfication) สำหรับอุปกรณ์ WLAN ในส่วนของ Physical (PHY) Layer และ Media Access Control (MAC) Layer โดยในส่วนของ PHY Layer มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้กำหนดให้อุปกรณ์มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 Mbps โดยมีสื่อ 3 ประเภทให้เลือกใช้ได้แก่ คลื่นวิทยุที่ความถี่สาธารณะ 2.4 และ 5 GHz, และ อินฟราเรด (Infarred) (1 และ 2 Mbps เท่านั้น) สำหรับในส่วนของ MAC Layer มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้กำหนดให้มีกลไกการทำงานที่เรียกว่า CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access/Collision Avoidance) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับหลักการ CSMA/CD (Collision Detection) ของมาตรฐาน IEEE 802.3 Ethernet ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปในเครือข่าย LAN แบบใช้สายนำสัญญาณ นอกจากนี้ในมาตรฐาน IEEE802.11 ยังกำหนดให้มีทางเลือกสำหรับสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN โดยกลไกการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) และการตรวจสอบผู้ใช้ (Authentication) ที่มีชื่อเรียกว่า WEP (Wired Equivalent Privacy) ด้วยวิวัฒนาการของมาตรฐาน IEEE 802.11มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งอุปกรณ์ตามมาตรฐานดังกล่าวจะมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1 และ 2 Mbps ด้วยสื่อ อินฟราเรด (Infarred) หรือคลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz และมีกลไก WEP ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่าย WLAN ได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากมาตรฐาน IEEE 802.11 เวอร์ชันแรกเริ่มมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำและไม่มีการรองรับหลักการ Quality of Service (QoS) ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้งกลไกรักษาความปลอดภัยที่ใช้ยังมีช่องโหว่อยู่มาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทำงาน (Task Group) ขึ้นมาหลายชุดด้วยกันเพื่อทำการปรับปรุงเพิ่มเติมมาตรฐานให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยคณะทำงานกลุ่มที่มีผลงานที่น่าสนใจและเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ IEEE 802.11a, IEEE 802.11b, IEEE 802.11e, IEEE 802.11g, และ IEEE 802.11i
IEEE 802.11b
คณะทำงานชุด IEEE 802.11b ได้ตีพิมพ์มาตรฐานเพิ่มเติมนี้เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด มาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ผนวกกับ DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อปรับปรุงความสามารถของอุปกรณ์ให้รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ผ่านคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz (เป็นย่านความถี่ที่เรียกว่า ISM (Industrial Scientific and Medical) ซึ่งถูกจัดสรรไว้อย่างสากลสำหรับการใช้งานอย่างสาธารณะด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้ก็เช่น IEEE 802.11, Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สาย, และเตาไมโครเวฟ) ส่วนใหญ่แล้วอุปกรณ์ IEEE 802.11 WLAN ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะเป็นอุปกรณ์ตามมาตรฐาน IEEE 802.11b นี้และใช้เครื่องหมายการค้าที่รู้จักกันดีในนาม Wi-Fi ซึ่งเครื่องหมายการค้าดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นโดยสมาคม WECA (Wireless Ethernet Compatability Alliance) โดยอุปกรณ์ที่ได้รับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าเป็นไปตามมาตรฐาน IEEE 802.11b และสามารถนำไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ยี่ห้ออื่นๆที่ได้รับเครื่องหมาย Wi-Fi ได้
IEEE 802.11a
คณะทำงานชุด IEEE 802.11a ได้ตีพิมพ์มาตรฐานเพิ่มเติมนี้เมื่อปี พ.ศ. 2542 มาตรฐาน IEEE 802.11a ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อปรับปรุงความสามารถของอุปกรณ์ให้รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps แต่จะใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 5 GHz ซึ่งเป็นย่านความถี่สาธารณะสำหรับใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีสัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์อื่นน้อยกว่าในย่านความถี่ 2.4 GHz อย่างไรก็ตามข้อเสียหนึ่งของมาตรฐาน IEEE 802.11a ที่ใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 5 GHz ก็คือในบางประเทศย่านความถี่ดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างสาธารณะ ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการใช้งานอุปกรณ์ IEEE 802.11a เนื่องจากความถี่ย่าน 5 GHz ได้ถูกจัดสรรสำหรับกิจการอื่นอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนี้ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งของอุปกรณ์ IEEE 802.11a WLAN ก็คือรัศมีของสัญญาณมีขนาดค่อนข้างสั้น (ประมาณ 30 เมตร ซึ่งสั้นกว่ารัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11b WLAN ที่มีขนาดประมาณ 100 เมตร สำหรับการใช้งานภายในอาคาร) อีกทั้งอุปกรณ์ IEEE 802.11a WLAN ยังมีราคาสูงกว่า IEEE 802.11b WLAN ด้วย ดังนั้นอุปกรณ์ IEEE 802.11a WLAN จึงได้รับความนิยมน้อยกว่า IEEE 802.11b WLAN มาก
IEEE 802.11g
คณะทำงานชุด IEEE 802.11g ได้ใช้นำเทคโนโลยี OFDM มาประยุกต์ใช้ในช่องสัญญาณวิทยุความถี่ 2.4 GHz ซึ่งอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ส่วนรัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN จะอยู่ระหว่างรัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11a และ IEEE 802.11b เนื่องจากความถี่ 2.4 GHz เป็นย่านความถี่สาธารณะสากล อีกทั้งอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IEEE 802.11b WLAN ได้ (backward-compatible) ดังนั้นจึงมีแนวโน้มสูงว่าอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายหากมีราคาไม่แพงจนเกินไปและน่าจะมาแทนที่ IEEE 802.11b ในที่สุด ตามแผนการแล้วมาตรฐาน IEEE 802.11g จะได้รับการตีพิมพ์ประมาณช่วงกลางปี พ.ศ. 2546
3. อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายมีอะไรบ้าง
เครือข่ายไร้สายที่จะนำมาใช้งานประกอบขึ้นด้วยอุปกรณ์ประเภทต่างๆ มากมาย ซึ่งมีทั้งออกแบบมาสำหรับใช้งานกับผู้ใช้งานภายในบ้านและผู้ใช้งานภายในองค์กรต่างๆ
PCI Card ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ หลายๆ รุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมนบอร์ดในระดับไฮเอนด์ จะมีคุณสมบัติไร้สายแบบ Built-in ให้มาด้วย แต่ถ้าท่านต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีที่มีอยู่ต้องการใช้งานร่วมกับระบบไร้สาย ได้ก็สามารถเลือกติดตั้ง PCI Card ได้ ด้วยการถอดฝาครอบเครื่องของเราออกแล้วติดตั้งเข้าไปได้ทันที การ์ดอีเทอร์เน็ตไร้สายแบบนี้นั้นจะมีเสาส่งสัญญาณแบบ Dipole ให้มาด้วย 1 เสา ถอดเปลี่ยนได้มาให้พร้อมกันด้วย ซึ่งผู้ใช้งานนั้นสามารถที่จะปรับองศาให้หันไปทิศทางที่ Access Point ตั้งอยู่เพื่อให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนสัญญาณระหว่างกันนั้นดีขึ้นได้
PCMCIA Card เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่มีจำหน่ายในปัจจุบันนี้นิยมผนวกรวมความสามารถในการใช้งานเครือข่ายไร้สายเข้าไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโน้ตบุ๊กที่ใช้งานเทคโนโลยี Intel Centrino ของทาง Intel แต่ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของท่านไม่สามารถใช้งานเครือข่ายไร้สาย ก็สามารถหาซื้อการ์ดแบบ PCMCIA CardBus Adapter มาติดตั้งได้ โดยลักษณะของตัวการ์ดจะมีขนาดเล็กเท่าบัตรเครดิต บางเบาและน้ำหนักน้อยจึงสามารถติดตั้งเข้ากับสล็อตแบบ PCMCIA ของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กได้โดยง่ายทีเดียว
Access Pointเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวกลางในการรับและส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งการ์ดเครือข่ายไร้สายให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ลักษณะการทำงานจะเป็นเช่นเดียวกับ Hub ที่ใช้กับระบบเครือข่ายใช้สาย โดย Access Point จะมีพอร์ต RJ-45 สำหรับใช้เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายใช้สายที่ใช้งานกันอยู่
Wireless Broadband Router อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับ ADSL ซึ่งออกแบบมาสำหรับจุดประสงค์การใช้งานอย่างหลากหลายเป็นทั้ง Router, Switch และ Access Point ปกติผู้ผลิตจะออกแบบมาให้มีพอร์ตเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แบบใช้สายจำนวน 4 พอร์ต แต่ผู้ผลิตหลายรายก็ออกอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กขนาดพ็อกเก็ตที่มีปุ่มสลับโหมดการทำงานมาให้ใช้ ซึ่งเหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายบ่อยครั้ง
Wireless Bridge เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้เชื่อมต่อเครือข่าย 2 เครือข่าย ให้สื่อสารกันได้ มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบติดตั้งภายนอกซึ่งใช้เชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างอาคาร และแบบที่ติดตั้งภายในอาคาร โดย Wireless Bridge มี 2 ลักษณะให้เลือกใช้ คือ แบบที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด (Point-to-Point) และแบบจุดต่อหลายจุด (Point-To-Multipoint)
Wireless PrintServer สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์เพื่อให้มีความสามารถในแบบไร้สาย มีทั้งรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานกับเครื่องพิมพ์ที่มีพอร์ต Parallel, USB หรือทั้งสองพอร์ตร่วมกันด้วย
PoE (Power over Ethernet) Adapter เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับแก้ไขข้อยุ่งยากในการเดินสายไฟฟ้าเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ไร้สาย โดยหันมาใช้วิธีการจ่ายไฟผ่านสายนำสัญญาณ UTP ที่ยังมีคู่สายที่ยังไม่ถูกนำมาใช้งานมาทำหน้าที่แทน ซึ่งอุปกรณ์PoE Adapter จะมี 2 ส่วน คือ Power Injector เป็นอุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้าและนำสัญญาณข้อมูลจาก Switch Hub เข้าไปสายนำสัญญาณสู่อุปกรณ์ไร้สายอย่าง Access Point และอีกอุปกรณ์เป็น Spliter ที่ใช้แยกสัญญาณข้อมูลและไฟฟ้าให้กับ Access Point ผู้ผลิตหลายรายในปัจจุบันออกแบบให้ Switch สนับสนุนมาตรฐาน IEEE 802.3af (PoE) มาพร้อมด้วย
4.สเปคอุปกรณ์ของอุปกรณ์ไร้สายพร้อมราคาคุณสมบบัติ
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับใช้งานกับเครือข่ายไร้สายนั้น มีข้อพิจารณาไม่ได้แตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์เครือข่ายใช้สายเท่าใดนัก โดยคุณสมบัติที่ควรมีมีดังต่อไปนี้มาตรฐานใดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน ในปัจจุบันมาตรฐานที่นิยมใช้กันงานกันอยู่จะเป็นมาตรฐาน IEEE802.11g ซึ่งรองรับอัตราความเร็วสูงสุดในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานโดยทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้อย่างดี พร้อมกันนั้นก็ยังสนับสนุนการทำงานร่วมกันกับมาตรฐานเดิมอย่าง IEEE802.11b ได้อย่างไร้ปัญหา แต่ในขณะนี้ก็เริ่มที่จะเห็นผู้ผลิตหลายๆ รายต่างส่งผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนเทคโนโลยี MIMO ออกมามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นที่คาดหมายกันว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ เครือข่ายไร้สายที่ให้แบนด์วิดท์, ให้ประสิทธิภาพการใช้งานที่มากกว่าและมีรัศมีการทำงานที่ดีกว่านั้นจะเข้ามาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.1g เดิม แต่ผลิตภัณฑ์ที่จะใช้งานคุณสมบัติเหล่านี้ได้อย่างเต็มพิกัดจะต้องเป็นอุปกรณ์จากซีรีส์เดียวกัน ซึ่งตอนนี้ยังมีราคาแพงอยู่มาก การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับมาตรฐาน IEEE802.11g จึงยังคงเป็นคำตอบที่คุ้มค่ามากที่สุดอยู่ ระบบอินเตอร์เฟซแบบไหนสำหรับคุณ การ์ดอีเทอร์เน็ตไร้สายก็มีหลายแบบหลายชนิดให้เราๆ ได้เลือกใช้เช่นเดียวกัน สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กคุณสมบัติแบบไร้สายดูจะถูกผนวกรวมมาพร้อมกับตัวเครื่องแล้ว แต่สำหรับท่านที่ยังต้องการการ์ดไร้สายสำหรับโน้ตบุ๊กตัวโปรดอยู่ Wireless PCMCIA Card คือคำตอบสุดท้าย หรือถ้าอยากจะใช้งานร่วมกับเครื่องพีซีอย่างคุ้มค่าก็ควรเลือกการ์ดแบบ USB Adapter ที่ราคาอาจจะแพงขึ้นมาหน่อยแต่ก็แลกมากับความคุ้มค่าใช้งานได้หลากหลายกว่า สำหรับท่านที่มีเครื่องพีซีก็มีอินเทอร์เฟซแบบ PCI Card มาเป็นตัวเลือกเช่นเดียวกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมาพร้อมสายสัญญาณและเสาอากาศที่ตั้งบนที่สูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารได้ ผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงสัญญาณระหว่างกัน นอกจากจะสนับสนุนการทำงานในแบบ Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer แล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังสามารถใช้ Access Point เป็นจุดเชื่อมต่อสัญญาณกับเครือข่ายใช้สายเพื่อการแชร์การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการได้ยืดหยุ่นกว่า ในแบบ Insfrastructure โดยถ้ายังไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือติดตั้งระบบเครือข่ายมาก่อน ก็ควรจะเลือกใช้อุปกรณ์อย่าง Wireless Router ที่มีคุณสมบัติในแบบ All-in-One จะให้ความคุ้มค่าได้มากกว่า หรือถ้ามีการใช้งานเครือข่ายใช้สายและไร้สายอยู่ก่อนแต่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งาน การเลือกใช้ Access Point ที่สนับสนุนโหมดการทำงานแบบ Bridge และ Repeater ร่วมด้วย ดูจะเป็นการลงทุนที่ดูคุ้มค่ากว่า ปกป้องการใช้งานด้วยระบบรักษาความปลอดภัย สิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ระบบเครือข่ายไร้สายก็คือ การสื่อสารไร้สายนั้นเป็นการติดต่อสื่อสารด้วยการใช้คลื่นวิทยุที่แพร่ไปตามบรรยากาศ จึงต้องให้ความสนใจในการเข้ารหัสข้อมูล ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการดักจับสัญญาณจากผู้ไม่ประสงค์ดี การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไร้สายจึงต้องคำนึงถึงฟังก์ชันการเข้ารหัสที่ใช้ ซึ่งเทคนิคที่ใช้งานโดยทั่วๆ ไป สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน Wired Equivalent Privacy หรือ WEP ขนาด 64/128-bit ร่วมกับ MAC Address Filtering ก็ดูจะเพียงพอ แต่สำหรับการใช้งานภายในองค์กรนั้นเทคนิคการตรวจสอบและกำหนดสิทธิ์การใช้งานต้องดูแข็งแกร่งกว่าโดยเลือกใช้ WPA (Wi-Fi Protected Privacy) ซึ่งใช้คีย์การเข้ารหัสที่น่าเชื่อถือร่วมกันกับเทคนิคการตรวจสอบและการกำหนดสิทธิ์ในแบบ 2 ฝั่ง แบบอื่นๆ อย่าง RADIUS ร่วมด้วยจึงเป็นคำตอบที่เหมาะสม เสารับส่งสัญญาณของผลิตภัณฑ์ สำหรับเสาอากาศของการ์ดไร้สายนั้น ถ้าเป็นการ์ดแบบ PCMCIA และแบบ USB จะเป็นเสาอากาศ Built-in มาพร้อมตัวการ์ด ส่วนการ์ดแบบ PCI นั้นจะเป็นเสาอากาศแบบ Reverse-SMA Connector ซึ่งสามารถถอดออกได้ โดยที่พบเห็นจะเป็นทั้งในแบบเสาเดี่ยวๆ ที่หมุนเข้ากับตัวการ์ด และอีกแบบจะเป็นแบบที่มีสายนำสัญญาณต่อเชื่อมกับเสาที่ตั้งบนพื้นหรือยึดติดกับผนังได้ ซึ่งการเลือกซื้อนั้นควรเลือกซื้อเสาอากาศแบบหลัง เนื่องจากให้ความยืดหยุ่นในการติดตั้งมากกว่า เพราะสามารถติดตั้งบนที่สูงๆ ได้ สำหรับอุปกรณ์อย่าง Access Point หรือ Wireless Router นั้นจะมีเสานำสัญญาณทั้งในแบบเสาเดี่ยวและ 2 เสา โดยการเลือกซื้อนั้นควรเลือกซื้อแบบ 2 เสา เนื่องจากให้ประสิทธิภาพในการรับส่งสัญญาณที่ดีกว่า โดยลักษณะของเสานั้นจะมีทั้งในแบบที่ยึดติดกับเข้ากับตัวอุปกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเห็นในรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน และอีกแบบเป็นเสาที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งหัวเชื่อมต่อนั้นจะเป็นทั้งแบบ Reverse-SMA Conector, SMA Conector และแบบ T-Connector ซึ่งถ้าจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเสาอากาศควรจะเลือกซื้อจากทางผู้ผลิตรายเดียวกันเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ซื้อหัวเชื่อมต่อผิดประเภท สำหรับชนิดของเสาอากาศที่มีจำหน่ายจะมี 2 ชนิดหลักๆ ก็คือ แบบ Omni-Direction Antenna ซึ่งเป็นเสาที่ทุกผู้ผลิตให้มากับตัวผลิตภัณฑ์แล้ว โดยคุณสมบัติของเสาประเภทนี้ก็คือ การรับและส่งสัญญาณในแบบรอบทิศทางในลักษณะเป็นวงกลม ทำให้การกระจายสัญญาณนั้นมีรัศมีโดยรอบ ครอบคลุมพื้นที่ แต่ถ้าต้องการใช้งานที่มีลักษณะรับส่งสัญญาณเป็นเส้นตรงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการรับส่งและระยะทางตามต้องการก็มีเสาอีกชนิดหนึ่ง คือ Direction Antenna ซึ่งนิยมใช้งานกับผลิตภัณฑ์ประเภท Wireless Bridge สำหรับการสื่อสารในแบบ Point-to-Pointสำหรับท่านที่ต้องการเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้ได้ไกลมากยิ่งขึ้น ก็สามารถเลือกซื้อเสาอากาศ High Gain ที่มีการขยายสัญญาณสูงกว่าเสาอากาศที่ทางผู้ผลิตให้มากับตัวอุปกรณ์ โดยมีให้เลือกใช้หลายแบบทั้งในแบบที่มีค่า Gain 5, 8, 12, 14 หรือสูงกว่าได้ กำลังส่งที่ปรับได้ สำหรับการใช้งานผลิตภัณฑ์ไร้สายนั้น การปรับกำลังส่งสัญญาณได้นับว่าเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของตัวผลิตภัณฑ์ โดยกำลังส่งสูงสุดจะไม่เกิน 100mW หรือ 20dBm ซึ่งผู้ผลิตบางรายจะมีผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนกำลังสูงสุดนี้ทีเดียว โดยค่ากำลังส่งที่มากก็แสดงว่า สามารถที่จะแพร่สัญญาณไปในระยะทางที่ไกล หรือให้รัศมีที่มากขึ้น แต่ก็สามารถปรับกำลังส่งให้ลดต่ำลงเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานภายในองค์กรที่จะต้องใช้กำลังส่งให้เหมาะสมกับพื้นที่ เนื่องจากกำลังส่งสูงๆ อาจจะไปรบกวนสำนักงานข้างเคียงและอาจถูกลักลอบใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายก็เป็นไปได้ การอัปเกรดเฟิร์มแวร์เพื่อเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ อุปกรณ์สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Access Point, Wireless Router หรือผลิตภัณฑ์ไร้สายประเภทอื่นๆ ทางผู้ผลิตก็อาจจะเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ ในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของฟังก์ชันการเข้ารหัส ซึ่งอุปกรณ์ที่ผลิตออกมาก่อนหน้าจะสนับสนุน WEP, WPA ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับระบบรักษาความปลอดภัยที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูงมากกว่า ทำให้ผู้ผลิตรายต่างๆ มีการออกเฟิร์มแวร์รุ่นใหม่ๆ ที่สนับสนุนการทำงานเพิ่มเติมอย่างทำให้รองรับ WPA2 ซึ่งเป็นฟังก์ชันการเข้ารหัสรุ่นใหม่ล่าสุดของอุปกรณ์ไร้สายออกมา ซึ่งผู้ผลิตจะมีเมนูเชื่อมโยงเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลดเฟิร์มแวร์รุ่นใหม่มาใช้งานได้

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อสอบ 50 ข้อ เรียนวันจันทร์ ที่ 20 ตุลาคม 2551

ข้อสอบ

1. พื้นที่ที่สัญญาณครอบคลุมการทำงานเรียกว่าอะไร
a. AP b. BSS c. ESS d. DCF

เฉลย a. AP

2. ข้อใดไม่ถูกต้องในการกล่าวถึง Rang ของความถี่
a. 902 MHz – 928 MHz b. 2.400 GHz – 2.8435 GHz
c. 5.725 GHz – 5.855 GHz d. ข้อ ก. และ ข้อ ข.เ

ฉลย b. 2.400 GHz – 2.8435 GHz

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามจากข้อ 3 – 8 เขียนคำตอบลงในช่อง ก.
A. Industry
B. Science
C. Medical
D. 900 MHz
E. 2.400 GHz
F. IEEE802.11a
G. IEEE802.11bH. 54 Mbits
I. 2 Mbits
J. 11 Mbits
K. DSSS
L. FHSS
M. ISM
3. Data Rate สูงสุดที่สามารถส่งข้อมูลได้ใน wireless Lan ที่ใช้ Machanism แบบ OFDM

ตอบ K.DSSS

4. Radio Frequency ที่ใช้งานเยอะที่สุดใน IEEE802.11

ตอบ L. FHSS

5. IEEE802.11b ใช้ machanism แบบใด

ตอบ C. Medica

l6. Machanism แบบใดที่มี Data Rate 11 Mbits

ตอบ A. Industry

7. ย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้ได้ในงานอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และการแพทย์

ตอบ D. 900 MHz

8. Radio frequency 2.400 GHz มีกี่ channel
a. 54 b. 69 c. 79 d. 89

เฉลย c.79

9. ในการ hop แต่ละ hop ใช้การ synchronize ต่างกันเท่าไหร่
a. 0.4 ms per hop b. 0.45 ms per hop c. 0.2 ms per hop d. 0.25 ms per hop

เฉลย b.0.45 ms per hop

10. สถาปัตยกรรมของ wireless lan ใน mode ใดที่ต้องเดินสาย wire network
a. ad-hoc b. Peer to peer c. Infrastructure d. BSS

เฉลย d.BSS

11. Routing Protocol มีกี่แบบ อะไรบ้าง
a. 2 แบบ Link state & Distance Vector b. 2 แบบ Link state & Dynamic
c. 2 แบบ Dynamic & Static d. 2 แบบ DGP & OSPF

เฉลย b. 2 แบบ Link state & Dynamic

12. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาลักษณะของ Routing ที่ดี
a. Cost ต่ำ b. Space ต่ำ c. Delay ต่ำ d. Hop ต่ำ

เฉลย d. Hop ต่ำ

13. Protocol BGP พิจารณาการส่งข้อมูลจากอะไร
a. จำนวนลิงค์ b. ระยะทาง c. จำนวน router d. ราคาค่าเช่า

เฉลย b. ระยะทาง

14. ลักษณะสำคัญของ routing table ประกอบด้วยอะไรบ้าง
a. ต้นทาง b. ปลายทาง c. ต้นทาง ปลายทาง d. ต้นทาง โปรโตคอล ปลายทาง

เฉลย c. ต้นทาง ปลายทาง

15. OSFP (Open Shortest Path First) เป็นชื่อของ
a. Algorithm b. Protocol c. Router d. Routing Table

เฉลย b. Protocol

16. ชนิดของเส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้รับ – ส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ
a. Grade Index Multimode b. Step Index Multimode
c. Single Mode d. ถูกทุกข้อ

เฉลย a.Grade Index Multimode

17. แกนกลางที่เป็นใยแก้วนำแสงเรียกว่าอะไร
a. Jacket b. Cladding c. Core d. Fiber

เฉลย c. Core

18. แสดงที่เดินทางภายใสเส้นใยนำแสงจะตกกระทบเป็นมุม คือลักษณะของเส้นใยแก้วแบบใด
a. Grade Index Multimode b. Step Index Multimode c. Single Mode d. ถูกทุกข้อ

เฉลย a. Grade Index Multimode

19. แสดงที่เดินทางภายในเส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นเส้นตรง คือลักษณะของเส้นใยแก้วแบบใด
a. Grade Index multimode b. Step Index Multimode c. Single Mode d. ถูกทุกข้อ

เฉลย c. Single Mode

20. ต้นกำเนิดแสง (optical source) ที่มี Power ของแสงเข้มข้นคือ
a. Laser b. APD c. LED d. PIN-FET

ฉลย d.PIN-FET

21. ข้อใดคือ Fast Ethernet
a. 10base5 b. 1000baseFX c. 100BaseFL d. 10GbaseTX

เฉลย b. 1000baseFX

22. 10BasF ใช้สายสัญญาณอะไรในการส่งข้อมูล
a. UTP b. STP c. Coaxial d. Fiber Optic

เฉลย b. STP

23. ข้อใดไม่ใช่ Ethernet แบบ 1000 mbps
a. 1000BaseT b. 100BaseTX c. 1000BaseX d. 1000BaseFL

เฉลย c.1000BaseX

24. ขนาด Frame ที่เล็กที่สุดของ Gigabit Ethernet คือ
a. 53 byte b. 64 byte c. 128 byte d. 512 byte

เฉลย d. 512 byte

25. Ethernet ใช้ protocol ใดในการตรวจสอบการส่งข้อมูล
a. LLC b. CSMA/CA c. CSMA/CD d. ALOHA

เฉลย b. CSMA/CA

26. Ethernet 10baseT ต่อยาวกี่เมตรสูงสุด
a. 80 ม. b. 100 ม. c. 150 ม. d. 185 ม.

เฉลย b. 100 ม.

27. ใครเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของ Ethernet
a. OSI b. IEEE c. ISO d. CCITT

เฉลย b.IEEE

28. 10Base5 ใช้สาย Coaxial แบบใด
a. Thin b. Thick c. UTP d. STP

ฉลย b.Thick

29. Fast Ethernet มีความเร็วเท่าใด
a. 10 mbps b. 100 mbps c. 1000 mbps d. 10 Gbps

เฉลย b. 100 mbps

30. 100 Mbps, baseband, long wavelength over optical fiber cable คือ มาตรฐานของ
a. 1000Base-LX b. 1000Base-FX c. 1000Base-T2 d. 1000Base-T4เ


ฉลย d.1000Base-T4

31. ATM มีขนาดกี่ไบต์
a. 48 ไบต์ b. 53 ไบต์ c. 64 ไบต์ d. 128 ไบต์

เฉลย b. 53 ไบต์

32. CSMA พัฒนามาจาก
a. CSMA/CA b. CSMA/CD c. CSMA d. ALOHA

เฉลย b. CSMA/CD

33. Internet เกิดขึ้นที่ประเทศอะไร
a. AU b. JP c. USA d. TH

เฉลย c.USA

34. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายข้อมูล หรือ Transport Technology
a. SEH b. ATM c. Mobile d. DWDM

เฉลย d. DWDM

35. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไร
a. CS internet b. Operator c. Admin d. ISP

เฉลย c.Admin

36. การแจกจ่ายหมายเลขไอพีแอดเดรส ให้กับเครื่องลูกโดยอัตโนมัติเรียกว่าอะไร
a. DNS b. FTP c. DHCP d. Proxxy

เฉลย b.FTP

37. การถ่ายโอนข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไร
a. DNS b. FTP c. DHCP d. Proxxy

เฉลย c. DHCP

38. โปรโตคอลการสื่อการที่เป็น offline
a. ICMP b. TCP c. UDP d. ARP

เฉลย d. ARP

39. การหาเส้นทางการส่งข้อมูลเรียกว่า
a. Routing b. Routing Protocol c. RoutingTable d. Router

เฉลย b. Routing Protocol

40. ข้อใดไม่มีในขั้นตอนการทำ server 7 พ.ค. 48
a. DHCP b. DNS c. Routing Protocol d. Virtual host

เฉลย b. DNS

41. หมายเลข IP Class ใดรองรับการทำงานของ host ได้สูงสุด
a. A b. B c. C d. D

เฉลย d. D

42. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างชนิดเข้าด้วยกันคือ
a. Hub b. Switching c. Modem d. Router

เฉลย a. Hub

43. การ set ค่าความสำคัญสูงสุด (High priority) ของ packet เป็นหน้าที่ของ function ใดต่อไปนี้
a. PIFS b. SIFS c. DIFS d. MIB

เฉลย d. MIB

44. การป้องกันการชนกันของการส่งข้อมูลใด WLAN ใช้หลักการใด
a. ALOHA b. CSMA c. CSMA/CA d. CSMA/CD

เฉลย d. CSMA/CD

45. Data Rate สูงสุดขนาด 54 Mb ที่ส่งได้ใน WLAN ใช้มาตรฐานใดและใช้หลัก mechanism (กลไกการส่ง) แบบใด
a. IEEE802.11a ; DSSS b. IEEE802.11b ; FHSS
c. IEEE802.11a ; OFDM d. IEEE802.11b ; OFDM

เฉลย c. IEEE802.11a ; OFDM

46. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ D/A คือ
a. Hub b. Switching c. Modem d. Router

เฉลย c. Modem

47.อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บรอดแคสสัญญาณ (Broadcast) คือ
a. Hub b. Switching c. Modem d. Router

เฉลย d. Router

48. Mechanism ใดของ WLAN ที่มีการรบกวน (Interference) สูงที่สุดใด
a. Diffuse IR b. DSSS c. OFDM d. FHSS

เฉลย b. DSSS

49. CIDR 192.168.0.0/24 จะมีค่า subnet mask เท่าใด
a. 225.225.0.0 b. 225.225.128.0 c. 225.225.225.0 d. 225.225.225.192

เฉลย d. 225.225.225.192

50. การ Roaming ใช้กับการโอนถ่ายข้อมูลระหว่าง
a. AP กับ AP b. BSSกับ AP c. AP กับ BSS d. BSS กับ BSS

เฉลย c. AP กับ BSS

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เข้าเรียนครั้งเรียน

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย 3(2-2)
Computer Network and Distributed

คำอธิบายรายวิชา (4122102)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เครือข่าย การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับ
เทอร์ฟินอบ ขั้นของโปรโตคอลมาตรฐาน OSI รูปแบบต่างๆ ของเครือข่าย X.25 เนตเวอร์ค
และดิจิตอลเนตเวอร์ค การประมวลผลแบบตามลำดับแบบขนาน การไปป์ไลน์ (Pipelining)
การประมวลผลแบบเวคเตอร์ (Vector Processing) การประมวลผลแบบอะเรย์
(Array Processors) พัลติโปรเซสเซอร์ (Multiprocessors)
และฟอลท์โทเลอร์แรนซ์ (Favlt Tolerance)

*********************************************************
URL

1. http://yalor.yru.ac.th/~sirichai/4122102/outline-1-45.html สถาบันราชภัฏยะลา
2. http://yalor.yru.ac.th/~sirichai/4122102/outline-1-44.html สถาบันราชภัฏยะลา
3. http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/Network2/index.htm ไม่ทราบว่ามาจากสถาบันไหนค่ะ
4. http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.html ไม่ทราบว่ามาจากสถาบันไหนค่ะ
5. http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/lesson7.htm ไม่ทราบว่ามาจากสถาบันไหนค่ะ
6. http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/network.htm ไม่ทราบว่ามาจากสถาบันไหนค่ะ
7. http://www.bcoms.net/network/intro.asp ไม่ทราบว่ามาจากสถาบันไหนค่ะ
8. http://ora.chandra.ac.th/~jamornkul/index.php?Subj=P4122102 .จามรกุล เหล่าเกียรติกุล ไม่ทราบว่ามาจากสถาบันไหน

9. http://ora.chandra.ac.th/~jamornkul/4122102/01.pdf อ.จามรกุล เหล่าเกียรติกุล ไม่ทราบว่ามาจากสถาบันไหน
10. http://ora.chandra.ac.th/~jamornkul/4122102/02.pdf อ.จามรกุล เหล่าเกียรติกุล ไม่ทราบว่ามาจากสถาบันไหน
11. http://ora.chandra.ac.th/~jamornkul/index.php?Subj=P4122102 .จามรกุล เหล่าเกียรติกุล ไม่ทราบว่ามาจากสถาบันไหน

12. http://www.school.net.th/library/snet1/network/network/index.html ไม่ทราบว่ามาจากสถาบันไหน

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551

เส้นใยแก้วนำแสง

เส้นใยแก้วนำแสง คือ อะไรเส้นใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมากเส้นใยแก้วนำแสงแบ่งออกเป็นกี่

แบบเส้นใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM) เป็นการใช้ตัวนำแสงที่บีบลำแสงให้พุ่งตรงไปตามท่อแก้ว โดยมีการกระจายแสงออกทางด้านข้างน้อยที่สุด ซิงเกิลโหมดจึงเป็นเส้นใยแก้วนำแสงที่มีกำลังสูญเสียทางแสงน้อยที่สุด เหมาะสำหรับในการใช้กับระยะทางไกล ๆ การเดินสายใยแก้วนำแสงกับระยะทางไกลมาก เช่น เดินทางระหว่างประเทศ ระหว่างเมือง มักใช้แบบซิงเกิลโหมด ยิงแสงได้เพียงหนึ่งความถี่เดียว
2.เส้นใยแก้วนำแสงชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM) เป็นเส้นใยแก้วนำแสงที่มีลักษณะการกระจายแสงออกด้านข้างได้ ดังนั้นจึงต้องสร้างให้มีดัชนีหักเหของแสงกับอุปกรณ์ฉาบผิวที่สัมผัสกับแคล็ดดิง ให้สะท้อนกลับหมด หาก การให้ดัชนีหักเหของแสงมีลักษณะทำให้แสงเลี้ยวเบนทีละน้อย เราเรียกว่าแบบเกรดอินเด็กซ์ หากใช้แสงสะท้อนโดยไม่ปรับคุณสมบัติของแท่งแก้วให้แสงค่อยเลี้ยวเบนก็เรียกว่า แบบ สเต็ปอินเด็กซ์ ยิงแสงได้ แค่หลาย ความถี่ แสงสามารถเดินทางผ่านเส้นใยแก้วนำแสงได้อย่างไรโครงสร้างของ เส้นใยแก้วนำแสงมีส่วนอย่างมากในการส่งผ่านแสง โดยแสงในเส้นใยแก้วนำแสงจะถูกทำให้สะท้อนกลับไปกลับมาระหว่างรอยต่อของแกนกลาง (core) และฉนวนที่หุ้ม (cladding) จากปลายข้างหนึ่งไปยังอีกปลายข้างหนึ่งของเส้นใยแก้วนำแสง สาเหตุที่ต้องมี cladding หุ้มส่วนของ core ไว้ ก็เนื่องจากว่า ถ้าหาก core สัมผัสกับอากาศโดยตรง อาจมีสิ่งปนเปื้อนในอากาศหรือ คราบน้ำมันมาเกาะจับที่ core ซึ่งจะทำให้การสะท้อนกลับของแสงภายใน core ไม่ดี เป็นเหตุให้มีการสูญเสียสัญญาณแสงขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมี cladding มาหุ้มไว้เพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว นอกจากนี้แล้ว ถัดจากชั้น cladding ออกมาก็จะมีฉนวนหุ้มอีกชั้นหนึ่ง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เส้นใยนำแสงโค้งงอได้ด้วยรัศมีค่าหนึ่งโดยไม่แตกหัก โดยทั่วไปเมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง จะเกิดปรากฎการณ์ของการสะท้อน (reflection) และการหักเห (refraction) ของแสงขึ้นที่ผิวรอยต่อระหว่างตัวกลางทั้งสอง ซึ่งสำหรับในกรณีพิเศษที่ตัวกลางที่แสงตกกระทบมีค่าดัชนีหักเหมากกว่า ในอีกตัวกลางหนึ่ง ( n2>n1 ; โดย n1 คือค่าดรรชนีหักเหของแสงในตัวกลางที่แสงหักเห และ n2 คือค่าดรรชนีหักเหของตัวกลางที่แสงตกกระทบ) และมีมุมตกกระทบที่พอเหมาะก็จะทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า การสะท้อนกลับหมดของแสง (Total Internal Reflection) ขึ้น ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวสามารถนำมาอธิบายถึงรูปแบบการเดินทางของแสงอย่างง่ายใน เส้นใยแก้วนำแสงได้ ค่าดรรชนีหักเหของตัวกลางหนึ่ง ๆ ก็คือ อัตราส่วนระหว่างความเร็วของแสงในอากาศกับความเร็วของแสงในตัวกลางนั้น ๆ เช่น ค่าดรรชนีหักเหของน้ำมีค่าประมาณ 1.3 นั่นคือแสงเคลื่อนที่ในอากาศได้เร็วกว่าในน้ำ เส้นทางของแสงในสายไฟเบอร์ออพติก เมื่อแสงผ่านเข้ามาในสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำ แสง)ที่ทำจากแก้ว จะเกิดการสะท้อนกลับหมดที่ผิวแก้ว (บริเวณที่เป็นรอยต่อของแก้วกับอากาศ) แสงที่สะท้อนนี้จะกลับเข้ามาในสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) และเกิดการสะท้อนที่ผิวแก้วอีกด้านหนึ่ง การสะท้อนนี้จะเกิดภายในแก้ว โดยไม่มีการทะลุผ่านผิวแก้วออกไปยังอากาศ ทำให้สายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) สามารถนำแสงจากจุด A ไปยังจุด B ได้ โดยเส้นทางของ AB เป็นเส้นโค้ง จากสมบัติข้อนี้จึงได้มีการสร้างเครื่องมือตรวจดูอวัยวะภาย ในร่างกายมนุษย์โดยการนำแสงจากภายนอกผ่านสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) ไปยังกระเพาะอาหาร และนำภาพกระเพาะอาหารกลับมายังภายนอกให้ผู้ทำการตรวจได้มองเห็น การใช้งานสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) จะมี 2 ลักษณะ คือ 1 นำภาพของวัตถุผ่านสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) เช่น กล้องตรวจอวัยวะภายในของมนุษย์ 2 นำสัญญาณแสงผ่านสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใยแก้วนำแสง) สำหรับชุดทดลองนี้ จะศึกษาเฉพาะลักษณะบางประการของการส่งสัญญาณแสงผ่านสายไฟเบอร์ออพติก(เส้นใย แก้วนำแสง) ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเส้นใยแก้วนำแสง ที่ทำมาจากพลาสติกเพื่องานบางอย่างที่ไม่คำนึงถึงการสูญเสียสัญญาณมากนัก เช่น การสื่อสารในระยะทางสั้น ๆ ไม่กี่เมตร




ข้อมูลสำหรับการศึกษาและทำความเข้าใจกับเส้นใยแก้วนำแสง เพื่อว่าจะได้เห็นข้อดีข้อเสีย รวมถึงแนวทางการนำมาประยุกต์ ในอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย สำนักงาน อาคารอุตสาหกรรมต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้สายสัญญาณเพื่อเชื่อมโยงระบบสื่อสาร แต่เดิมสายสัญญาณที่นำมาใช้ได้แก่ สายตัวนำ ทองแดงปัจจุบันสายสัญญาณระบบสื่อสารมีความจำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมีแนวโน้มที่จะรวมระบบสื่อสารอย่างอื่นประกอบเข้ามาในระบบ ด้วย เช่น ระบบเคเบิลทีวี ระบบโทรศัพท์ ระบบการบริการข้อมูลข่าวสารเฉพาะของบริษัท ผู้ให้บริการต่าง ๆ ความจำเป็นในลักษณะนี้จึงมีผู้ตั้งคำถามว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะ ให้อาคารที่สร้างใหม่มีระบบเครือข่ายสายสัญญาณด้วยเส้นใยแก้วนำแสงหากพิจารณาให้ดีพบว่า เวลานั้นได้มาถึงแล้ว ปัจจุบันราคาของเส้นใยแก้วนำแสงที่เดินในอาคารมีราคาใกล้เคียงกับสายยูทีพีแบบเกรดที่ดี เช่น แคต 5 ขณะเดียวกันสายเส้นใยแก้ว นำแสงให้ประสิทธิภาพสูงกว่ามาก และรองรับการใช้งานในอนาคตได้มากกว่าสายยูทีพีแบบแคต 5 รองรับความเร็วสัญญาณได้ 100 เมกะบิตต่อวินาที และมีข้อจำกัดในเรื่องความยาวเพียง 100 เมตร ขณะที่เส้นใยแก้วนำแสงรองรับความถี่สัญญาณได้ หลายร้อยเมกะเฮิรตซ์ และยังใช้ได้กับความยาวถึง 2,000 เมตร การพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ ของเส้นใยแก้วนำแสงได้ก้าวมาถึงจุดที่จะนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางแล้วบทความนี้จึงขอนำเสนอเพื่อแสดงให้เห็นว่า เส้นใยแก้วนำแสงมีจุดเด่นอย่างไร มีแนวโน้มการใช้งานด้านใดบ้าง และที่สำคัญคือจะเป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาและทำความเข้าใจ กับเส้นใยแก้วนำแสง เพื่อว่าจะได้เห็นข้อดีข้อเสีย รวมถึงแนวทางการนำมาประยุกต์ให้คุ้มค่า โดยเฉพาะการมองแนวทางของเทคโนโลยีในระยะไกลจุดเด่นของเส้นใยแก้วนำแสงจุดเด่นของเส้นใยแก้วนำแสงมีหลายประการ โดยเฉพาะจุดที่ได้เปรียบสายตัวนำทองแดง ที่จะนำมาใช้แทนตัวนำทองแดง จุดเด่นเหล่านี้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และดีขึ้น เรื่อย ๆ ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการรับส่งข้อมูลข่าวสารเส้นใยแก้วนำแสงที่เป็นแท่งแก้วขนาดเล็ก มีการโค้งงอได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้กันมากคือ 62.5/125 ไมโครเมตร เส้นใยแก้วนำแสงขนาดนี้เป็นสายที่นำมาใช้ภายใน อาคารทั่วไป เมื่อใช้กับคลื่นแสงความยาวคลื่น 850 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้มากกว่า 160 เมกะเฮิรตซ์ ที่ความยาว 1 กิโลเมตร และถ้าใช้ความยาวคลื่น 1,300 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้กว่า 500 นาโนเมตร ที่ความยาว 1 กิโลเมตร และถ้าลดความยาวลงเหลือ 100 เมตร จะใช้กับความถี่ของสัญญาณมากกว่า 1 กิกะเฮิรตซ์ได้ ดังนั้นจึงดีกว่า สายยูทีพีแบบแคต 5 ที่ใช้กับสัญญาณได้ 100 เมกะเฮิรตซ์

กำลังสูญเสียต่ำเส้นใยแก้วนำแสงมีคุณสมบัติในเชิงการให้แสงวิ่งผ่านได้ การบั่นทอนแสงมีค่าค่อนข้างต่ำ ตามมาตรฐานของเส้นใยแก้วนำแสง การใช้เส้นสัญญาณนำแสงนี้ใช้ได้ยาวถึง 2,000 เมตร หากระยะทางเกินกว่า 2,000 เมตร ต้องใช้รีพีตเตอร์ทุก ๆ 2,000 เมตร การสูญเสียในเรื่องสัญญาณจึงต่ำกว่าสายตัวนำทองแดงมาก ที่สายตัวนำทองแดงมีข้อ กำหนดระยะทางเพียง 100 เมตรหากพิจารณาในแง่ความถี่ที่ใช้ ผลตอบสนองทางความถี่มีผลต่อกำลังสูญเสียโดยเฉพาะในลวดตัวนำทองแดง เมื่อใช้เป็นสายสัญญาณ คุณสมบัติของสายตัวนำทองแดงจะ เปลี่ยนแปลงเมื่อใช้ความถี่ต่างกัน โดยเฉพาะเมื่อใช้ความถี่ของสัญญาณที่ส่งในตัวนำทองแดงสูงขึ้น อัตราการสูญเสียก็จะมากตามแต่กรณีของเส้นใยแก้วนำแสงเราใช้สัญญาณ รับส่งข้อมูล จึงไม่มีผลกับกำลังสูญเสียทางแสงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถรบกวนได้ปัญหาที่สำคัญของสายสัญญาณแบบทองแดงคือการเหนี่ยสนำ โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัญหานี้มีมาก ตั้งแต่เรื่องการรบกวนระหว่างตัวนำหรือเรียกว่าครอสทอร์ค การไม่ แมตช์พอดีทางอิมพีแดนซ์ ทำให้มีคลื่นสะท้อนกลับ การรบกวนจากปัจจัยภายนอกที่เรียกว่า EMI ปัญหาเหล่านี้สร้างให้ผู้ใช้ต้องหมั่นดูแลแต่สำหรับเส้นใยแก้วนำแสงแล้วปัญหาเรื่องเหล่านี้จะไม่มี เพราะแสงเป็นพลังงานที่มีพลังงานเฉพาะและไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเดินทางในเส้นแก้วก็ปราศจาก การรบกวนของแสงจากภายนอกน้ำหนักเบาเส้นใยแก้วนำแสงมีน้ำหนักเบากว่าเส้นลวดตัวนำทองแดง น้ำหนักของเส้นใยแก้วนำแสงขนาด 2 แกนที่ใช้ทั่วไปมีน้ำหนักเพียงประมาณ 20 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของสายยูทีพี แบบแคต 5ขนาดเล็กเส้นใยแก้วนำแสงมีขนาดทางภาคตัดขวางแล้วเล็กกว่าลวดทองแดงมาก ขนาดของเส้นใยแก้วนำแสงเมื่อรวมวัสดุหุ้มแล้วมีขนาดเล็กกว่าสายยูทีพี โดยขนาดของสายใยแก้วนี้ใช้ พื้นที่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ของเส้นลวดยูทีพีแบบแคต 5มีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูลสูงกว่าการใช้เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะใช้แสงเดินทางในข่าย จึงยากที่จะทำการแท๊ปหรือทำการดักฟังข้อมูลมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินการที่เส้นใยแก้วนำแสงเป็นฉนวนทั้งหมด จึงไม่นำกระแสไฟฟ้า การลัดวงจร การเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าจึงไม่เกิดขึ้นความเข้าใจผิดบางประการแต่เดิมเส้นใยแก้วนำแสงมีใช้เฉพาะในโครงการใหญ่ หรือใช้เป็นเครือข่ายแบบแบ็กโบน เทคโนโลยีเกี่ยวกับเส้นใยแก้วนำแสงก็ยังไม่เป็นที่เปิดเผยมากนัก ทำให้เกิดความเข้าใจผิด บางประการเกี่ยวกับคุณสมบัติและการประยุกต์ใช้งานแตกหักได้ง่ายด้วยความคิดที่ว่า "แก้วแตกหักได้ง่าย" ความคิดนี้จึงเกิดขึ้นกับเส้นใยแก้วด้วย เพราะวัสดุที่ทำเป็นแก้ว ความเป็นจริงแล้วเส้นใยแก้วมีความแข็งแรงและทนทานสูงมาก การออกแบบใยแก้วมีเส้นใยห้อมล้อมไว้ ทำให้ทนแรงกระแทก นอกจากนี้แรงดึงในเส้นใยแก้วยังมีความทนทานสูงกว่าสายยูทีพี หากเปรียบเทียบเส้นใยแก้วกับสายยูทีพีแล้วจะ พบว่า ข้อกำหนดของสายยูทีพีแล้วจะพบว่า ข้อกำหนดของสายยูทีพีมีคุณสมบัติหลายอย่างต่ำกว่าเส้นใยแก้ว เช่น การดึงสาย การหักเลี้ยว เพราะลักษณะคุณสมบัติทางไฟฟ้า ที่ความถี่สูงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าเส้นใยแก้วนำแสงมีราคาแพงแนวโน้มทางด้านราคา มีการเปลี่ยนแปลงราคาของเส้นใยแก้วนำแสงลดลง จนในขณะนี้ยังแพงกว่าสายยูทีพีอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก นอกจากนี้หลายคนยังเข้าใจว่า การติดตั้ง เส้นใยแก้วนำแสงมีข้อยุ่งยาก และต้องใช้คนที่มีความรู้ความชำนาญ เสียค่าติดตั้งแพง ความคิดนี้ก็คงไม่จริง เพราะการติดตั้งทำได้ไม่ยากนัก เนื่องจากมีเครื่องมือพิเศษ ช่วยได้มาก เครื่องมือพิเศษนี้สามารถเข้าหัวสายได้โดยง่ายกว่าแต่เดิมมาก อีกทั้งราคาเครื่องมือก็ถูกลงจนมีผู้รับติดตั้งได้ทั่วไปเส้นใยแก้วนำแสงยังไม่สามารถใช้กับเครื่องที่ตั้งโต๊ะได้ปัจจุบันพีซีที่ใช้ส่วนใหญ่ต่อกับแลน แบบอีเธอร์เน็ต ซึ่งได้ความเร็ว 10 เมกะบิต การเชื่อมต่อกับแลนมีหลายมาตรฐาน โดยเฉพาะปัจจุบันหากใช้ความเร็วเกินกว่า 100 เมกะบิต สายยูทีพีรองรับไม่ได้ เช่น เอทีเอ็ม 155 เมกะบิต แนวโน้มของการใช้งานระบบเครือข่ายมีทางที่ต้องใช้แถบกว้างสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะเมื่อต้อการให้พีซีเป็นมัลติมีเดียเพื่อแสดง ผลเป็นภาพวิดีโอ การใช้เส้นใยแก้วนำแสงดูจะเป็นทางออก พัฒนาการของการ์ดเชื่อมต่อที่ใช้กับพีซีโดยเฉพาะเอทีเอ็มการ์ดก็ได้พัฒนาไปมาก เอทีเอ็มการ์ดใช้ความเร็ว 155 เมกะบิต ย่อมต้องใช้เส้นใยแก้วนำแสงรองรับ การใช้เส้นใยแก้วนำแสงสามารถใช้ในการส่งรับวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หรือสัญญาณประกอบอื่น ๆ ได้ดีรูปที่ 1 เส้นใยแก้วนำแสงแบบซิงเกิลโหมดรูปที่ 2 เส้นใยแก้วนำแสงแบบมัลติโหมดเส้นใยแก้วนำแสงมีกี่แบบคุณสมบัติของเส้นใยแก้วนำแสงแบ่งแยกได้ตามลักษณะคุณสมบัติของตัวนำแสง ที่มีลักษณะการใช้แสงส่องทะลุในลักษณะอย่างไร คุณสมบัติของเนื้อแก้วนี้จะกระจายแสงออก ซึ่งในกรณีนี้การสะท้อนของแสงกลับต้องเกิดขึ้นโดยผนังแก้วด้านข้างต้องมีดัชนีหักเหของแสงที่ทำให้แสงสะท้อนกลับ เพื่อลดการสูญเสียของพลังงานแสง วิธีการนี้เราแบ่งแยก ออกเป็นสองแบบคือ แบบซิงเกิลโหมด และมัลติโหมดซิงเกิลโหมดเป็นการใช้ตัวนำแสงที่บีบลำแสงให้พุ่งตรงไปตามท่อแก้ว โดยมีการกระจายแสงออกทางด้านข้างน้อยที่สุด ซิงเกิลโหมดจึงเป็นเส้นใยแก้วนำแสงที่มีกำลังสูญเสียทางแสงน้อยที่สุด เหมาะสำหรับในการใช้กับระยะทางไกล ๆ การเดินสายใยแก้วนำแสงกับระยะทางไกลมาก เช่น เดินทางระหว่างประเทศ ระหว่างเมือง มักใช้แบบซิงเกิลโหมดมัลติโหมดเป็นเส้นใยแก้วนำแสงที่มีลักษณะการกระจายแสงออกด้านข้างได้ ดังนั้นจึงต้องสร้างให้มีดัชนีหักเหของแสงกับอุปกรณ์ฉาบผิวที่สัมผัสกับแคล็ดดิง ให้สะท้อนกลับหมด หาก การให้ดัชนีหักเหของแสงมีลักษณะทำให้แสงเลี้ยวเบนทีละน้อย เราเรียกว่าแบบเกรดอินเด็กซ์ หากใช้แสงสะท้อนโดยไม่ปรับคุณสมบัติของแท่งแก้วให้แสงค่อยเลี้ยวเบนก็เรียกว่า แบบ สเต็ปอินเด็กซ์เส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้ในเครือข่ายแลนส่วนใหญ่ใช้แบบมัลติโหมด โดยเป็นขนาด 62.5/125 ไมโครเมตร หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อแก้ว 62.5 ไมโครเมตร และของ แคล็ดดิงรวมท่อแก้ว 125 ไมโครเมตรคุณสมบัติของเส้นใยแก้วนำแสงแบบสเต็ปอินเด็กซ์มีการสูญเสียสูงกว่าแบบเกรดอินเด็กซ์ตัวส่งแสงและรับแสงการใช้เส้นใยแก้วนำแสงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณแสง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณแสงหรือเป็นแหล่งกำเนิดแสงคือ LED หรือเลเซอร์ไดโอด อุปกรณ์ส่งแสงนี้ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง ส่วนอุปกรณ์รับแสงและเปลี่ยนกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า คือ โฟโต้ไดโอดอุปกรณ์ส่งแสงหรือ LED ใช้พลังงานเพียง 45 ไมโครวัตต์ สำหรับใช้กับเส้นใยแก้วนำแสงแบบ 62.5/125 การพิจารณาอุปกรณ์นี้ต้องดูที่แถบคลื่นแสง โดยปกติใช้คลื่นแสงย่าน ความยาวคลื่นประมาณ 25-40 นาโนเมตร ดังนั้นข้อกำหนดเชิงพิกัดของเส้นใยแก้วนำแสง จึงกล่าวถึงความยาวคลื่นแสงที่ใช้ในย่าน 850 นาโนเมตรตัวรับแสงหรือโฟโตไดโอดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้รับสัญญาณแสงและมีความไวต่อความเข้มแสง คลื่นแสงที่ส่งมามีการมอดูเลตสัญญาณข้อมูลเข้าไปร่วมด้วยอุปกรณ์ตัวรับและตัวส่งแสงนี้มักทำมาสำเร็จเป็นโมดูล โดยเฉพาะเชื่อมต่อเข้ากับสัญญาณข้อมูลที่เป็นไฟฟ้าได้โดยตรง และทำให้สะดวกต่อการใช้งานการเชื่อมต่อ และหัวต่อที่ปลายสายแต่ละเส้นจะมีหัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับเส้นใยแก้วนำแสง แสงจะผ่านหัวต่อไปยังอีกหัวต่อโดยเสมือนเชื่อมต่อกันเป็นเส้นเดียวได้เมื่อเอาเส้นใยแก้วมาเข้าหัวที่ปลายแก้ว จะมีลักษณะที่ส่งสัญญาณแสงออกมาได้ และต้องให้กำลังสูญเสียต่ำที่สุด ดังนั้นจึงมีวิธีที่จะทำให้ปลายท่อแก้วราบเรียบที่จะเชื่อมสัญญาณ แสงต่อไปได้ดังนั้นก่อนที่จะเข้าหัวต่อจึงต้องมีการฝนปลายท่อแก้ว วิธีการฝนปลายท่อแก้วนี้หลายวิธี เช่น การฝนแบบแบนราบ (Flat) การฝนแบบ PC และแบบ APC แต่ละแบบแสดงได้ ดังรูปที่ 4การกระทำแต่ละแบบจะให้การลดทอนสัญญาณต่างกัน และยังต้องให้มีแสงสะท้อนกลับน้อยสุดเท่าที่จะน้อยได้ ลักษณะของหัวต่อเมื่อเชื่อมถึงกันแล้วจะต้องให้ผิวสัมผัส การส่งแสงส่องทะลุถึงกัน เพื่อให้กำลังสูญเสียความเข้มแสงน้อยสุด โดยปกติหัวต่อที่ทำการฝนแก้วแบบแบนราบมีกำลังสูญเสียสูงกว่าแบบอื่น คือประมาณ -30 dB แบบ PC มีการสูญเสียประมาณ -40 dB และแบบ APC มีการสูญเสียความเข้มน้อยสุดคือ -50 dB

ลักษณะของหัวต่อเมื่อเชื่อมต่อถึงกันแสดงดังรูปที่ 5
รูปที่ 3 โครงสร้างของเส้นใยแก้วนำแสง
รูปที่ 4 การฝนปลายก่อนเข้าหัวสาย
รูปที่ 5 เมื่อให้ปลายหัวต่อเชื่อมกันระหว่างแบบตัวผู้และแบบตัวเมีย
รูปที่ 6 หัวต่อเส้นใยแก้วนำแสงแบบ STการประยุกต์ใช้เส้นใยแก้วนำแสงแนวโน้มการใช้งานเส้นใยแก้วนำแสงได้เป็นรูปธรรมที่เด่นชัดขึ้น ทั้งนี้เพราะมีผู้พัฒนาเทคโนโลยีให้รองรับกับการใช้เส้นใยแก้วนำแสง โดยเน้นที่ความเร็วของการรับส่งสัญญาณ เส้นใยแก้วนำแสงมีข้อเด่นในเรื่องความเชื่อถือสูง เพราะปราศจากการรบกวน อีกทั้งยังสามารถใช้กับเทคโนโลยีได้หลากหลาย และรองรับสิ่งที่จะเกิดใหม่ในอนาคตได้มากตัวอย่างการใช้งานต่อไปนี้เป็นรูปแบบให้เห็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ในอาคาร ในสำนักงาน โดยสามารถเดินสายสัญญาณด้วยเส้นใยแก้วนำแสงตามมาตรฐานสากล คือ มีสายในแนวดิ่ง และสายในแนวราบ สายในแนวดิ่งเชื่อมโยงระหว่างชั้น ส่วนสายในแนวราบเป็นการเชื่อมจากผู้ใช้มาที่ชุมสายแต่ละชั้นรูปแบบไดอะแกรมการเดินสายทั่วไปประกอบด้วย โครงสร้างดัง
รูปที่ 7 จากลักษณะของการเดินสายตามมาตรฐาน EIA 568 นี้ สามารถนำมาใช้กับเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้มาก เช่น

รูปที่ 8 โครงสร้างการเดินสายสัญญาณเพื่อใช้กับเส้นใยแก้วนำแสงการใช้เทคโนโลยี 10BASE Fการใช้อีเธอร์เน็ตแบบ 10BASEF เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาให้ใช้กับเทคโนโลยีอีเธอร์เน็ตโดยตรง ความเร็วสัญญาณยังคงอยู่ที่ 10 เมกะบิต และหากเป็น 10BASE ก็เป็น ความเร็ว 10 เมกะบิต ขณะนี้มีการพัฒนาระบบอีเธอร์เน็ตให้เป็นแบบกิกะบิตอีเธอร์เน็ต หรือความเร็วสัญญาณอยู่ที่ 1,000 เมกะบิต การเดินสายด้วยเส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะ เหมือนกับสายยูทีพี โดยใช้ชิปเป็นตัวกระจายพอร์ตต่าง ๆ ดังแสดงในรูปที่ 8FDDIเทคโนโลยีนี้มีใช้มานานแล้ว เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วของสัญญาณที่ 100 เมกะบิต และใช้สายสัญญาณเป็นเส้นใยแก้วนำแสง มีโครงสร้างเป็นวงแหวนสองชั้นและแตก กระจายออก การเดินสายสัญญาณตามมาตรฐาน EIA 568 ก็จัดให้เข้ากับ FDDI ได้ง่าย FDDI มีข้อดีคือสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายระยะไกลได้ มีจำนวนโหนดบน FDDI ได้ถึง 1,000 โหนด การจัดโครงสร้างต่าง ๆ ของ FDDI สามารถทำผ่านทางแพตช์ที่เชื่อมต่อให้ได้รูปตามที่ FDDI ต้องการ ในลูปวงแหวนหลักของ FDDI ต้องการ วงแหวนสองชั้น ซึ่งก็ต้องใช้เส้นใยแก้วนำแสงจำนวนทั้งหมด 4 ลำแสง FDDI ยังเป็นเครือข่ายหลักหรือแบ็กโบนเพื่อเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอื่นได้ เช่น เชื่อมต่อกับอีเธอร์เน็ต กับโทเค็นริง ไดอะแกรมของ FDDI แสดงดังรูปที่ 9ATMเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาเพื่อรองรับการใช้งาน ที่ความเร็วสูงมาก เอทีเอ็มสามารถใช้ได้กับความเร็ว 155 เมกะบิต 622 เมกะบิต และสูงเกินกว่ากิกะบิตในอนาคต โครงสร้าง การเดินสายเอทีเอ็มมีลักษณะแบบดาว เป็นโครงสร้างการกระจายสายสัญญาณ ซึ่งตรงกับสภาพการใช้เส้นใยแก้วนำแสงอยู่แล้วลักษณะของแพตช์และการกระจายสายสัญญาณ เพื่อใช้กับเส้นใยแก้วนำแสงในลักษณะที่ปรับเปลี่ยนเข้ากับเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้แสดงไว้ในรูปที่ 10 การวางโครงสร้างของ สายสัญญาณเส้นใยแก้วจึงไม่แตกต่างกับสายยูทีพีอนาคตต้องเป็นเส้นใยแก้วนำแสงถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการใช้งานสายยูทีพีอย่างแพร่หลายและได้ประโยชน์มหาศาล แต่จากการพัฒนาเทคโนโลยีที่ต้องการให้ถนนของข้อมูลข่าวสารเป็นถนนขนาดใหญ่ ที่เรียกว่าซูเปอร์ไฮเวย์ การรองรับข้อมูลจำนวนมากและการประยุกต์ในรูปแบบมัลติมีเดียที่กำลังจะเกิดขึ้นย่อมต้องทำให้สภาพการใช้ข้อมูลข่าวสารต้องพัฒนาให้รองรับกับจำนวน ปริมาณข้อมูลที่จะมีมากขึ้นรูปที่ 8 โครงสร้างการเดินสายสัญญาณ เพื่อใช้กับเส้นใยแก้วนำแสงรูปที่ 9 ไดอะแกรมการเชื่อมโยงของ FDDIรูปที่ 10 การวางโครงสร้างสายเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆจึงเชื่อแน่ว่า เส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นสายสัญญาณที่ก้าวเข้ามาในยุคต่อไป และจะมีบทบาทเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นแล้วเราคงจะได้เห็นอาคารบ้านเรือน สำนักงาน หรือ โรงงาน มีเส้นใยแก้วนำแสงเดินกระจายกันทั่ว เหมือนกับที่เห็นสายไฟฟ้ากำลังอยู่ในขณะนี้ และเหตุการณ์เหล่า

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เรียนวันอังคารที่ 5 สิงหาคม 2551 ทำแบบทดสอบ

1. Router มีกี่โหมด อะไรบ้าง อธิบายให้ละเอียด
ตอบ 1. Router มีกี่โหมด อะไรบ้าง
Routing มีอยู่ 2 แบบ หลักๆ ได้แก่- แบบสเตติก (Static Route)- แบบไดนามิก (Dynamic Route)
Static คือ
การเลือกเส้นทางแบบ Static นี้ การกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมด กระทำโดยผู้บริหาจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้บริหารจัดการดูแล เครือข่า เข้ามาจัดการทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้ มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อม
ดังนี้
-เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก
-เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่า ข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว
-ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น
-ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก เนื่องจากไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทาง
การจัดตั้ง Configuration สำหรับการเลือกเส้นทางแบบ Staticเป็นที่ทราบดีแล้วว่า การเลือกเส้นทางแบบ Static เป็นลักษณะการเลือกเส้นทางที่ถูกกำหนดโดยผู้จัดการเครือข่าย เพื่อกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ตายตัว หรือเจาะจงเส้นทางปกติ Router สามารถ Forward Packet ไปข้างหน้า บนเส้นทางที่มันรู้จักเท่านั้น ดังนั้นการกำหนดเส้นทางเดินของแพ็กเก็ตให้กับ Router จึงควรให้ความระมัดระวังวิธีการจัด Configure แบบ Static Route ให้กับ Router Cisco ให้ใส่คำสั่ง ip route ลงไปที่ Global Configuration Mode มีตัวอย่างการใช้คำสั่ง ดังนี้
ip route network [ mask ] {address interface} [distance] [permanent]
-Network เครือข่าย หรือ Subnet ปลายทาง-Mask หมายถึงค่า Subnet mask
-Address IP Address ของ Router ใน Hop ต่อไป
-Interface ชื่อของ Interface ที่ใช้เพื่อเข้าถึงที่หมายปลายทาง
-Distance หมายถึง Administrative Distance
-Permanent เป็น Option ถูกใช้เพื่อกำหนด เส้นทางที่ตั้งใจว่าจะไม่มีวันถอดถอนทิ้ง ถึงแม้ว่า จะปิดการใช้งาน Interface ก็ตาม
dynamic คือ
Exterior Gateway Routing Protocol
Distance Vector Routing Protocol
Link State Routing Protocol
เนื่องจาก จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีแนวคิดในการจัดตั้งเครือข่ายและอุปกรณ์ Router เพื่อเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย และเนื่องจากขอบข่ายของหลักวิชาการด้านนี้ ค่อนข้างกว้าง จึงขอตีกรอบให้แคบลง โดยจะขอกล่าวถึงรายละเอียดเพียงบางส่วนในการจัดตั้ง Router ที่ท่านสามารถนำไปใช้ได้ รู้จักกับ Distance Vector Routing Protocol Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ต ส่งออก ไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น Vector
Distance Vector บางครั้งจะถูกเรียกว่า "Bellman-Ford Algorithm" ซึ่งโปรโตคอลนี้ จะทำให้ Router แต่ละตัว ที่อยู่บนเครือข่ายจะต้องเรียนรู้ลักษณะของ Network Topology โดยการแลกเปลี่ยน Routing Information ของตัวมันเอง กับ Router ที่เชื่อมต่อกันเป็นเพื่อนบ้าน โดยตัว Router เองจะต้องทำการจัดสร้างตารางการเลือกเส้นทางขึ้นมา โดยเอาข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจากเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง ( ข้อมูลนี้ครอบคลุมไปถึงระยะทางระหว่าง Router ที่เชื่อมต่อกัน)หลักการทำงานได้แก่การที่ Router จะส่งชุด สำเนาที่เป็น Routing Information ชนิดเต็มขั้นของมันไปยัง Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับมันโดยตรง ด้วยการแลกเปลี่ยน Routing Information กับ Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงนี้เอง ทำให้ Router แต่ละตัว จะรู้จักซึ่งกันและกัน หรือรู้เขารู้เรา กระบวนการแลกเปลี่ยนนี้ จะดำเนินต่อไปเป็นห้วงๆ ของเวลาที่แน่นอนDistance Vector Algorithm ค่อนข้างเป็นแบบที่เรียบง่าย อีกทั้งออกแบบเครือข่ายได้ง่ายเช่นกัน ปัญหาหลักของของ Distance Vector Algorithm ได้แก่ การคำนวณเส้นทาง จะซับซ้อนขึ้น เมื่อขนาดของเครือข่ายโตขึ้น
ตัวอย่างของโปรโตคอลที่ทำงานภายใต้ Distance Vector Algorithm ได้แก่ อาร์ไอพี (RIP) หรือ Routing Information ProtocolLink State Routing
Link State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไป ถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกัน
ด้วยวิธีการของ Link State นี้ Router แต่ละตัวจะทำการสร้างผังที่สมบูรณ์ของเครือข่ายขึ้น จากข้อมูลที่มันได้รับจาก Router อื่นๆทั้งหมด จากนั้นจะนำมาทำการคำนวณเส้นทางจากผังนี้โดยใช้ Algorithm ที่เรียกว่า Dijkstra Shortest Path Algorithm
Router จะเฝ้าตรวจสอบดูสถานะของการเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่อง โดยการแลกเปลี่ยนระหว่างแพ็กเก็ตกับ Router เพื่อนบ้าน แต่หาก Router ไม่ตอบสนองต่อความพยายามที่จะติดต่อด้วย หลายๆครั้ง การเชื่อมต่อก็จะถือว่าตัดขาดลง แต่ถ้าหากสถานะ ของ Router หรือการเชื่อมต่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลข่าวสารนี้จะถูก Broadcast ไปยัง Router ทั้งหมดที่อยู่ในเครือข่าย
การจัดตั้ง Configure ให้กับวิธี การจัดเลือกเส้นทางแบบ Dynamicในการจัดตั้งค่าสำหรับการเลือกเส้นทาง (Routing) แบบ Dynamic จะมี 2 คำสั่งสำหรับการใช้งาน ได้แก่ คำสั่ง Router และ Network โดยคำสั่ง Router เป็นคำสั่งที่ทำให้เริ่มต้นการเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้น รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้
Router (config)#router protocol [keyword]ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายรายละเอียดของรูปแบบคำสั่งProtocol เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบใดแบบหนึ่ง ระหว่าง RIP IGRP OSPF หรือ Enhanced IGRP
Keyword ตัวอย่าง เช่น เลขหมายของ Autonomous ซึ่งจะถูกนำมาใช้กับโปรโตคอลที่ต้องการระบบ Autonomous ได้แก่ โปรโตคอล IGRPคำสั่ง Network ก็เป็นคำสั่งที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเช่นกัน เนื่องจากมันสามารถกำหนดว่า Interface ใดที่จะเกี่ยวข้องกับการรับหรือส่ง Packet เพื่อการ Update ตารางเลือกเส้นทาง ขณะเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้นคำสั่ง Network จะเป็นคำสั่งที่ทำให้ โปรโตคอลเลือกเส้นทางเริ่มต้นทำงานบน Interface ต่างๆ ของ Router อีกทั้งยังทำให้ Router สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์เครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ ได้อีกด้วย รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้
Router (config-router)#network network- numberNetwork-number ในที่นี้หมายถึง เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันโดยตรง และ Network Number จะต้องอยู่ในมาตรฐาน เลขหมาย ของ INTERNIC
8.protocol ที่เลือกเส้นทางแบบ dynamic มีอะไรบ้างตอบ โปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้
1. Interior Gateway Routing Protocol
2.Exterior Gateway Routing Protocol
3. Distance Vector Routing Protocol
4. Link State Routing Protocol
Interior เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ระหว่าง Roter ภายในองค์กรเดียวกัน ซึ่งได้แก่ RIP , IGRP ,EIGRP และ OSPF Exterior เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ต่างองค์กรกันหรือความน่าเชื่อถือต่างกัน ซึ่งได้แก่ BGP, EGP Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ตส่งออกไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น VectorLink State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไปถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกันRouting Protocols (เส้นทางการเชื่อมต่อ)
Exterior routing Protocol (EGP) เป็นโปรโตคอล สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ router ระหว่าง 2 เครือข่ายของ gateway host ในระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติ ซึ่ง EGP มีการใช้โดยทั่วไป ระหว่าง host บนอินเตอร์เน็ต เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศของตาราง routing โดยตาราง routing ประกอบด้วยรายการ router ตำแหน่งที่ตั้ง และเมทริกของค่าใช้จ่ายของแต่ละ router เพื่อทำให้สามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด กลุ่มของ router แต่ละกลุ่มจะใช้เวลาภายใน 120 วินาที ถึง 480 วินาที ในการส่งข้อมูลส่งตาราง routing ทั้งหมดไปยังเครือข่ายอื่น ซึ่ง EGP -2 เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ EGP Border Gateway Protocol (BGP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง
gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยังrouterแต่ละตัวเพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การติดต่อด้วย
ประเภทของ Routing ภายใน Network ที่เชื่อมต่อกับเนตเวิคโดยตรงRouting Information Protocol (RIP) เป็นโปรโตคอลที่ใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับการจัดการสารสนเทศของ router ภายในเครือข่าย เช่น เครือข่าย LAN ของบริษัท หรือการติดต่อภายในกลุ่ม ของเครือข่าย RIP ได้รับการจัดชั้นโดย Internet Engineering Task Force (IETF) ให้เป็นหนึ่งในโปรโตคอลของInternet Gateway Protocol (หรือ InteriorGatewayProtocol)
Open Shortest Path First (OSPF) ถือเป็น เร้าติ้งโปรโตคอล (Routing Protocol) ตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในระบบเน็ตเวิร์ก เนื่องจากมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น การที่ตัวมันเป็น Routing Protocol แบบ Link State, การที่มีอัลกอรึทึมในการค้นหาเส้นทางด้วยตัวเอง ซึ่งเปรียบเสมือนว่า ตัวของ เราเตอร์ที่รัน OSPF ทุกตัวเป็นรูท (Root) หรือ จุดเริ่มต้นของระบบไปยังกิ่งย่อยๆ หรือโหนด (Node) ต่างๆ ซึ่งเป็นเทคนิคในการลดเส้นทางที่วนลูป (Routing Loop) ของการ Routing ได้เป็นอย่างดี
Enhance Interior Gateway Routing Protocol (EIGRP) นั้นถือได้ว่าเป็น เราติ้งโปรโตคอลที่มีความรวดเร็วสูงสุดของซิสโก้ในการค้นหาเส้นทางภายใน Intra-AS (Interior Routing Protocol: เราติ้งโปรโตคอลภายใน Autonomous System) ซึ่ง ในเราติ้งโปรโตคอลแบบ EIGRP นี้ จะเป็นการนำเอาข้อดีของการเราติ้งแบบ Distance Vector และ Link State มาผสมผสานกัน (ในหนังสือบางเล่มจะเรียก เราติ้งโปรโตคอลแบบนี้ว่า “Hybrid” (ลูกผสม) หรือ Advanced Distance Vector)
2.จงบอกคำสั่งในแต่ละโหมดมาอย่างน้อย 5 คำสั่งตอบ
คำสั่ง
access-enable
เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
clear
เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว
connectใ
ช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal
disable
ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode
disconnect
ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ networkenable
เข้าสู่ privileged Exec mode
exit
ออกจากการใช้ User Exec modehelp
ใช้เพื่อแสดงรายการ help
lat
เปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)
lock
ใช้เพื่อ lock terminallogin
login
เข้ามาเป็น userlogoutexit
ออกจาก EXECmrinfo
ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่ง
mstat
แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้ว
mtraceใ
ช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง
name-connection
เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่
pad
เปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PAD
Pingใ
ช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อpppใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPP
resume
ใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้ง
rlogin
เปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกล
show
แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบัน
slip
เริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)
systat
เป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบ
telnet
เป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnet
terminal
เป็นการจัด Parameter ของ Terminal Line
traceroute
เป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทาง
tunnel
เปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnel
where
แสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน
3. Command prompt ในโหมดต่างๆ
ตอบ Command Mode Command Mode หลักภายใน Cisco IOS ได้แก่User Exec ModePrivileged Exec ModeGlobal Configuration ModeInterface ConfigurationBoot Mode
4. Use exec mode พร้อมรายละเอียด
ตอบ Command Mode หลักภายใน Cisco IOS ได้แก่User Exec ModePrivileged Exec ModeGlobal Configuration ModeInterface ConfigurationBoot ModeUser Exec ModeUser Exec Mode เป็นโหมดแรกที่ท่านจะต้อง Enter เข้าไป เมื่อRouter เริ่มทำงาน วิธีที่จะรู้ว่าท่านได้เข้าสู่ User Exec Mode จาก Prompt ของ Router ได้แก่ Prompt ที่แสดงบนหน้าจอ ได้แก่ ชื่อของ Router แล้วตามด้วยเครื่องหมาย > เช่น
Routerhostname >
ต่อไปนี้ เป็นตารางแสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commands
ตารางที่ 1แสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commandsคำสั่ง
access-enable
เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
clear
เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว
connect
ใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal
disable
ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode
disconnect
ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ network
enable
เข้าสู่ privileged Exec mode
exit
ออกจากการใช้ User Exec mode
help
ใช้เพื่อแสดงรายการ help
latเ
ปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)
lockใ
ช้เพื่อ lock terminallogin
loginเ
ข้ามาเป็น user
logout
exit ออกจาก EXEC
mrinfo
ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่ง
mstat
แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้ว
mtrace
ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง
name-connection
เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่
pad
เปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PAD
Ping
ใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อppp
ใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPP
resume
ใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้งrloginเปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกล
show
แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบัน
slip
เริ่มการใช้งาน Slip(serial line protocol)
systat
เป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบ
telnet
เป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnet
terminal
เป็นการจัด Parameter ของ Terminal Line
traceroute
เป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทาง
tunnel
เปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnel
where
แสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน
5.คำสั่งที่ใช้ตรวจสอบสถานะของRout จงบอกอย่างน้อย 5 คำสั่ง
ตอบ access-enableเป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
clear
เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว
connectใ
ช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal
disable
ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode
disconnect
ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ network
enable
เข้าสู่ privileged Exec mode
exit
ออกจากการใช้ User Exec mode
help
ใช้เพื่อแสดงรายการ help
lat
เปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)
lock
ใช้เพื่อ lock terminallogin
login
เข้ามาเป็น user
logout
exit ออกจาก EXEC
mrinfo
ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่ง
mstat
แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้ว
mtrace
ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง
name-connection
เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่
pad
เปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PAD
Ping
ใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ
ppp
ใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPP
resume
ใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้ง
rlogin
เปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกล
show
แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบัน
slip
เริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)
systat
เป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบ
telnet
เป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnet
termina
lเป็นการจัด Parameter ของ Terminal Line
traceroute
เป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทาง
tunnel
เปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnel
where
แสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน
6. การเลือกเส้นทางแบบ Static คืออะไร
ตอบ การเลือกเส้นทางแบบ Static นี้ การกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมด กระทำโดยผู้บริหาจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้บริหารจัดการดูแล เครือข่า เข้ามาจัดการทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้ มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังนี้
-เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก
-เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่า ข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว
-ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น
-ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก เนื่องจากไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางการจัดตั้ง Configuration สำหรับการเลือกเส้นทาง
แบบ Staticเป็นที่ทราบดีแล้วว่า การเลือกเส้นทางแบบ Static เป็นลักษณะการเลือกเส้นทางที่ถูกกำหนดโดยผู้จัดการเครือข่าย เพื่อกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ตายตัว หรือเจาะจงเส้นทางปกติ Router สามารถ Forward Packet ไปข้างหน้า บนเส้นทางที่มันรู้จักเท่านั้น ดังนั้นการกำหนดเส้นทางเดินของแพ็กเก็ตให้กับ Router จึงควรให้ความระมัดระวังวิธีการจัด Configure แบบ Static Route ให้กับ Router Cisco ให้ใส่คำสั่ง ip route ลงไปที่ Global Configuration Mode มีตัวอย่างการใช้คำสั่ง ดังนี้ip route network [ mask ] {address interface} [distance] [permanent]
-Network เครือข่าย หรือ Subnet ปลายทาง-Mask หมายถึงค่า Subnet mask
-Address IP Address ของ Router ใน Hop ต่อไป
-Interface ชื่อของ Interface ที่ใช้เพื่อเข้าถึงที่หมายปลายทาง
-Distance หมายถึง Administrative Distance-Permanent เป็น Option ถูกใช้เพื่อกำหนด เส้นทางที่ตั้งใจว่าจะไม่มีวันถอดถอนทิ้ง ถึงแม้ว่า จะปิดการใช้งาน Interface ก็ตาม
7. การเลือกเส้นทางแบบ Dynamicคืออะไรตอบ dynamic คือ
ตอบ : ประเภทของโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamicโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้
Exterior Gateway Routing Protocol
Distance Vector Routing Protocol
Link State Routing Protocol
เนื่องจาก จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีแนวคิดในการจัดตั้งเครือข่ายและอุปกรณ์ Router เพื่อเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย และเนื่องจากขอบข่ายของหลักวิชาการด้านนี้ ค่อนข้างกว้าง จึงขอตีกรอบให้แคบลง โดยจะขอกล่าวถึงรายละเอียดเพียงบางส่วนในการจัดตั้ง Router ที่ท่านสามารถนำไปใช้ได้
รู้จักกับ Distance Vector Routing Protocol Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ต ส่งออก ไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น Vector
Distance Vector บางครั้งจะถูกเรียกว่า "Bellman-Ford Algorithm" ซึ่งโปรโตคอลนี้ จะทำให้ Router แต่ละตัว ที่อยู่บนเครือข่ายจะต้องเรียนรู้ลักษณะของ
'Network Topology โดยการแลกเปลี่ยน Routing Information ของตัวมันเอง กับ Router ที่เชื่อมต่อกันเป็นเพื่อนบ้าน โดยตัว Router เองจะต้องทำการจัดสร้างตารางการเลือกเส้นทางขึ้นมา โดยเอาข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจากเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง ( ข้อมูลนี้ครอบคลุมไปถึงระยะทางระหว่าง Router ที่เชื่อมต่อกัน)หลักการทำงานได้แก่การที่ Router จะส่งชุด สำเนาที่เป็น Routing Information ชนิดเต็มขั้นของมันไปยัง Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับมันโดยตรง ด้วยการแลกเปลี่ยน Routing Information กับ Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงนี้เอง ทำให้ Router แต่ละตัว จะรู้จักซึ่งกันและกัน หรือรู้เขารู้เรา กระบวนการแลกเปลี่ยนนี้ จะดำเนินต่อไปเป็นห้วงๆ ของเวลาที่แน่นอนDistance Vector Algorithm ค่อนข้างเป็นแบบที่เรียบง่าย อีกทั้งออกแบบเครือข่ายได้ง่ายเช่นกัน ปัญหาหลักของของ Distance Vector Algorithm ได้แก่ การคำนวณเส้นทาง จะซับซ้อนขึ้น เมื่อขนาดของเครือข่ายโตขึ้นตัวอย่างของโปรโตคอลที่ทำงานภายใต้ Distance Vector Algorithm ได้แก่ อาร์ไอพี (RIP) หรือ Routing Information ProtocolLink State Routing
Link State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไป ถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกันด้วยวิธีการของ Link State นี้ Router แต่ละตัวจะทำการสร้างผังที่สมบูรณ์ของเครือข่ายขึ้น จากข้อมูลที่มันได้รับจาก Router อื่นๆทั้งหมด จากนั้นจะนำมาทำการคำนวณเส้นทางจากผังนี้โดยใช้ Algorithm ที่เรียกว่า Dijkstra Shortest Path AlgorithmRouter จะเฝ้าตรวจสอบดูสถานะของการเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่อง โดยการแลกเปลี่ยนระหว่างแพ็กเก็ตกับ Router เพื่อนบ้าน
แต่หาก Router ไม่ตอบสนองต่อความพยายามที่จะติดต่อด้วย หลายๆครั้ง การเชื่อมต่อก็จะถือว่าตัดขาดลง แต่ถ้าหากสถานะ ของ Router หรือการเชื่อมต่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลข่าวสารนี้จะถูก Broadcast ไปยัง Router ทั้งหมดที่อยู่ในเครือข่ายการจัดตั้ง Configure ให้กับวิธี การจัดเลือกเส้นทางแบบ Dynamicในการจัดตั้งค่าสำหรับการเลือกเส้นทาง (Routing) แบบ Dynamic จะมี 2 คำสั่งสำหรับการใช้งาน ได้แก่ คำสั่ง Router และ Network โดยคำสั่ง Router เป็นคำสั่งที่ทำให้เริ่มต้นการเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้น รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้Router (config)#router protocol [keyword]ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายรายละเอียดของรูปแบบคำสั่งProtocol เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบใดแบบหนึ่ง
ระหว่าง RIP IGRP OSPF หรือ Enhanced IGRPKeyword ตัวอย่าง เช่น เลขหมายของ Autonomous ซึ่งจะถูกนำมาใช้กับโปรโตคอลที่ต้องการระบบ Autonomous ได้แก่ โปรโตคอล IGRPคำสั่ง Network ก็เป็นคำสั่งที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเช่นกัน เนื่องจากมันสามารถกำหนดว่า Interface ใดที่จะเกี่ยวข้องกับการรับหรือส่ง Packet เพื่อการ Update ตารางเลือกเส้นทาง ขณะเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้นคำสั่ง Network จะเป็นคำสั่งที่ทำให้ โปรโตคอลเลือกเส้นทางเริ่มต้นทำงานบน Interface ต่างๆ ของ Router อีกทั้งยังทำให้ Router สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์เครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ ได้อีกด้วย รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้
Router (config-router)#network network- numberNetwork-number ในที่นี้หมายถึง เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันโดยตรง และ Network Number จะต้องอยู่ในมาตรฐาน เลขหมาย ของ INTERNIC
8. Protocal ที่เลือกเส้นทางแบบ dynamic มีอะไรบ้าง
ตอบ โปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้
1. Interior Gateway Routing Protocol
2.Exterior Gateway Routing Protocol
3. Distance Vector Routing Protocol
4. Link State Routing ProtocolInterior
เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ระหว่าง Roter ภายในองค์กรเดียวกัน ซึ่งได้แก่ RIP , IGRP ,EIGRP และ OSPF Exterior เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ต่างองค์กรกันหรือความน่าเชื่อถือต่างกัน ซึ่งได้แก่ BGP, EGP Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ตส่งออกไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น VectorLink State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไปถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกันRouting Protocols (เส้นทางการเชื่อมต่อ)Exterior routing Protocol (EGP) เป็นโปรโตคอล สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ router ระหว่าง 2 เครือข่ายของ gateway host ในระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติ ซึ่ง EGP มีการใช้โดยทั่วไป ระหว่าง host บนอินเตอร์เน็ต เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศของตาราง routing โดยตาราง routing ประกอบด้วยรายการ router ตำแหน่งที่ตั้ง และเมทริกของค่าใช้จ่ายของแต่ละ router เพื่อทำให้สามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด กลุ่มของ router แต่ละกลุ่มจะใช้เวลาภายใน 120 วินาที ถึง 480 วินาที ในการส่งข้อมูลส่งตาราง routing ทั้งหมดไปยังเครือข่ายอื่น ซึ่ง EGP -2 เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ EGP Border Gateway Protocol (BGP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยังrouterแต่ละตัวเพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การติดต่อด้วยประเภทของ Routing ภายใน Network ที่เชื่อมต่อกับเนตเวิคโดยตรงRouting Information Protocol (RIP) เป็นโปรโตคอลที่ใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับการจัดการสารสนเทศของ router ภายในเครือข่าย เช่น เครือข่าย LAN ของบริษัท หรือการติดต่อภายในกลุ่ม ของเครือข่าย RIP ได้รับการจัดชั้นโดย Internet
Engineering Task Force (IETF) ให้เป็นหนึ่งในโปรโตคอลของInternet Gateway Protocol (หรือ InteriorGatewayProtocol)Open Shortest Path First (OSPF) ถือเป็น เร้าติ้งโปรโตคอล (Routing Protocol) ตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในระบบเน็ตเวิร์ก เนื่องจากมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น การที่ตัวมันเป็น Routing Protocol แบบ Link State, การที่มีอัลกอรึทึมในการค้นหาเส้นทางด้วยตัวเอง ซึ่งเปรียบเสมือนว่า ตัวของ เราเตอร์ที่รัน OSPF ทุกตัวเป็นรูท (Root) หรือ จุดเริ่มต้นของระบบไปยังกิ่งย่อยๆ หรือโหนด (Node) ต่างๆ ซึ่งเป็นเทคนิคในการลดเส้นทางที่วนลูป (Routing Loop) ของการ Routing ได้เป็นอย่างดีEnhance Interior Gateway Routing Protocol (EIGRP) นั้นถือได้ว่าเป็น เราติ้งโปรโตคอลที่มีความรวดเร็วสูงสุดของซิสโก้ในการค้นหาเส้นทางภายใน Intra-AS (Interior Routing Protocol: เราติ้งโปรโตคอลภายใน Autonomous System) ซึ่ง ในเราติ้งโปรโตคอลแบบ EIGRP นี้ จะเป็นการนำเอาข้อดีของการเราติ้งแบบ Distance Vector และ Link State มาผสมผสานกัน (ในหนังสือบางเล่มจะเรียก เราติ้งโปรโตคอลแบบนี้ว่า “Hybrid” (ลูกผสม) หรือ Advanced Distance Vector)
9. อธิบาย Protocal Distance Vector ให้เข้าใจ
ตอบ ลักษณะที่สำคัญของการติดต่อแบบ Distance-vector คือ ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล routing table เอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก จากรูป Router A จะทราบว่าถ้าต้องการส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายไปยังเครื่องที่อยู่ใน Network B แล้วนั้น ข้อมูลจะข้าม Router ไป 1 ครั้ง หรือเรียกว่า 1 hop ในขณะที่ส่งข้อมูลไปยังเครื่องใน Network C ข้อมูลจะต้องข้ามเครือข่ายผ่าน Router A ไปยัง Router B เสียก่อน ทำให้การเดินทางของข้อมูลผ่านเป็น 2 hop อย่างไรก็ตามที่ Router B จะมองเห็น Network B และ Network C อยู่ห่างออกไปโดยการส่งข้อมูล 1 hop และ Network A เป็น2 hop ดังนั้น Router A และ Router B จะมองเห็นภาพของเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่แตกต่างกันเป็นตารางข้อมูล routing table ของตนเอง จากรูปการส่งข้อมูลตามลักษณะของ Distance-vector routing protocol จะเลือกหาเส้นทางที่ดีที่สุดและมีการคำนวณตาม routing algorithm เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ซึ่งมักจะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดและมีจำนวน hop น้อยกว่า โดยอุปกรณ์ Router ที่เชื่อมต่อกันมักจะมีการปรับปรุงข้อมูลใน routing table อยู่เป็นระยะๆ ด้วยการ Broadcast ข้อมูลทั้งหมดใน routing table ไปในเครือข่ายตามระยะเวลาที่ตั้งเอาไว้การใช้งานแบบ Distance-vector เหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและมีการเชื่อมต่อที่ไม่ซับซ้อนเกินไป ตัวอย่างโปรโตคอลที่ทำงานเป็นแบบ Distance-vector ได้แก่ โปรโตคอล RIP (Routing Information Protocol) และโปรโตคอล IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) เป็นต้น
10. Protocol BGP คืออะไรมีหลักการทำงานอย่างไร
ตอบ Border Gateway Protocol (BGP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยัง router แต่ละตัว เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การติดต่อด้วย BGP จะใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และส่งข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วของตาราง router เฉพาะ host ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง จึงมีผลเฉพาะส่วนของตาราง router ที่ส่ง BGP-4 เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งให้ผู้บริหารระบบทำการคอนฟิก cost metric ตามนโยบาย การติดต่อด้วย BGP ของระบบ แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP) จะทำงานได้ไม่ดีกับ IGP เนื่องจาก router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง routing 2 ตาราง คือ ตารางของ IGP (Internet gateway protocol) และตารางของ IBGP BGP เป็นโปรโตคอลที่ทันสมัยกว่า Exterior Gateway Protocol
11. สายใยแก้วนำแสงมีกี่ชนิดตอบ ชนิดคือไฟเบอร์ออฟติค
12. สัญญาณแก้วใยแก้วนำแสงต่างๆตอบ อนาล็อกกับดิจิตอล
13. จงบอกข้อดีของเส้นใยแก้วนำแสงตอบ
1. มีน้ำหนักเบาและไม่เป็นสนิม ซึ่งเหมาะมากสำหรับใช้งานในยานอวกาศ และรถยนต์
2. เส้นใยแสง 1 เส้น สามารถที่จะมีช่องสัญญาณเสียงได้มากเท่ากับ 1500 คู่สาย
3. ความห่างของตัวขยายสัญญาณสำหรับเส้นใยแสงมีค่าตั้งแต่ 35 ถึง 80 กิโลเมตร ซึ่งตรงข้ามกับสายธรรมดา ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 1 ถึงแค่ 1.5 กิโลเมตรเท่านั้น
4. เส้นใยแสงจะไม่มีการรบกวนจากฟ้าแลบ และการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
14. ขนาดของ core และ cladding ในเส้นใยแก้วนำแสงแต่ละชนิด
ตอบ แท่งควอร์ต ซึ่งผ่านกระบวนการ Modefied Chemical Vapor Deposition (MCVD) แล้วจะถูกวางในแนวตั้งในหอดึง (Drawing Tower) ซึ่งจะถูกให้ความร้อนต่ออีก (2200 F) และถูกดึงลงด้านล่าง โดยหลักการของการหลอมเหลวควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และขบวนการการดึง เพื่อจะทำให้เส้นใยแสงคุณภาพสูง มีความยาวประมาณ 6.25 กิโลเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 125 ไมโครเมตร ศูนย์กลางซึ่งถูกเรียกว่า แกน หรือ CORE (เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 ไมโครเมตร) จะถูกล้อมรอบด้วยควอร์ตที่บริสุทธิ์น้อยกว่า ซึ่งถูกเรียกว่า ชั้นคลุม หรือ cladding (ขอบเขตประมาณ 117 ไมโครเมตร
15. การเชื่อมต่อดดยวิธีการหลอมรวม ทำได้โดยวิธีใด
ตอบ การเชื่อมต่อแบบหลอมรวม เป็นการเชื่อมต่อ Fiber Optic สองเส้นเข้าด้วยกัน โดยการให้ความร้อนที่ปลายของเส้น Fiber Optic จากนั้นปลายเส้น Fiber Optic จะถูกดันออกมาเชื่อมต่อกัน การเชื่อมต่อกันในลักษณะนี้ เป็นการเชื่อมต่อโดยถาวร จนทำให้ดูเหมือนรวมเป็นเส้นเดียวกัน การสูญเสียจากการเชื่อมต่อในลักษณะนี้ จะทำให้มีความสูญเสีย ประมาณ 0.01 - 0.2 dB ในขั้นตอนการเชื่อมต่อนี้ ความร้อนที่ทำให้ปลายเส้น Fiber Optic อ่อนตัวลงด้วยประกายไฟที่เกิดจากการ Arc ระหว่างขั้ว Electrode ขณะทำการ หลอมรวม ซึ่งจะยังผลให้การเชื่อมต่อของ Fiber Optic เป็นเนื้อเดียวกัน